ภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตา (เบาหวานขึ้นตา)
อาจารย์ ดร.ภก.วสุ ศุภรัตนสิทธิ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วันที่รวบรวมข้อมูล: 26 เมษายน พ.ศ. 2564 |
|
12,452 ครั้ง เมื่อ 2 ช.ม.ที่แล้ว | |
2021-05-06 |
โรคเบาหวาน เป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก มีการคาดการณ์ว่า จะมีคนเป็นโรคเบาหวาน 642 ล้านคนในปี ค.ศ. 2040 ซึ่งสัมพันธ์กับภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตา (diabetic retinopathy) หรือที่เรียกว่า “เบาหวานขึ้นตา” ที่จะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย โดยประมาณว่าร้อยละ 30 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีเบาหวานขึ้นตา และ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่มีภาวะเบาหวานขึ้นตาจะมีปัญหาด้านการมองเห็นด้วย ซึ่งสัมพันธ์กับการศึกษาในประเทศไทย ปี ค.ศ. 2006 ที่พบว่า 1 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีเบาหวานขึ้นตาร่วมด้วย ทั้งนี้ภาวะดังกล่าวสัมพันธ์กับระยะเวลาการเป็นโรคเบาหวาน ระดับ HbA1C ที่สูง โรคความดันโลหิตสูง และภาวะไตเสื่อมจากเบาหวาน
ภาพจาก : https://www.aoa.org/AOA/Images/Patients/Eye%20Conditions/Male_Computer_Vision_Syndrome_Dry_Eye_Tired_AdobeStock_261825553.jpg
ภาวะเบาหวานขึ้นตา เป็นภาวะแทรกซ้อนหนึ่งของโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่มาจากการควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดี และระยะเวลาการเป็นโรคเบาหวานที่ค่อนข้างนาน ทำให้เส้นเลือดขนาดเล็กที่ไปเลี้ยงจอประสาทตาเกิดความผิดปกติ เสื่อมลง หรือมีเส้นเลือดขนาดเล็กใหม่เกิดขึ้น ผู้ป่วยจึงมาด้วยอาการตามัว ซึ่งระดับของอาการตามัว ขึ้นกับระยะความรุนแรงของภาวะเบาหวานขึ้นตา และบริเวณที่มีความผิดปกติในจอประสาทตา หากเส้นเลือดไปเลี้ยงเกิดความผิดปกติ หรือมีจุดเลือดออกบริเวณจุดรับภาพ (macula) จุดรับภาพมีภาวะบวม รวมทั้งจอประสาทตาลอกจากผนังด้านในลูกตา ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการตามัวมากได้
ระยะความรุนแรงของภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตา แบ่งหลัก ๆ เป็น 2 ระยะ คือ
การแบ่งระยะจะเป็นส่วนหนึ่งของการเลือกวิธีการรักษา และการนัดติดตามอาการโดยจักษุแพทย์ ซึ่งมีแนวทางการรักษาดังนี้
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอาการทางสายตาดังนี้
สุดท้ายนี้หากมีปัญหาทางสายตา และกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการใช้ยาทุกครั้งควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับท่านเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้ยา และอย่าลืมว่า "มีปัญหาเรื่องยา ปรึกษาเภสัชกรนะครับ"
![]() |
กลิ่นตัว ปัญหากวนใจที่แก้ไขได้ 7 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
คลอโรฟีลล์มีประโยชน์จริงหรือ? 7 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของผักเชียงดา 25 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
รู้จักชุดตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีด้วยตนเอง (HIV self-testing) 27 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
สมองเสื่อมกับยาที่ต้องระวัง 28 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ต้อกระจก 29 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
กลูตาไธโอน ตอนที่ 2 : ยาฉีด ยากิน และยาทา 30 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
คอนแทคเลนส์ 45 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ผลแลปเลือดกับโรคไตเรื้อรัง 48 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
เจนเอ็กซ์ เจนวาย เจนแซด คืออะไร 49 วินาทีที่แล้ว |
![]() ![]() |
|
ที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานภายในคณะฯ
HTML5 Bootstrap Font Awesome