เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


การค้นคว้ายาต้านไวรัสโควิด-19 ตอนที่ 1 : ฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir)


รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิง นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์
หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก : https://s.isanook.com/he/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL2hlLzAvdWQvNC8yMDgwMS9jb3ZpZC0xOS1tZWRpY2luZS5qcGc=.jpg
อ่านแล้ว 36,038 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 09/03/2563
อ่านล่าสุด 1 วันที่แล้ว
Access Denied
Access Denied (authentication_failed)
Your username or password incorrect : General authentication failure due to bad user ID or authentication token. You will not be permitted access until your credentials can be verified.
This is typically caused by an incorrect username or password, but could also be caused by network authenticated problems.
Mahidol University will launch the new network authentication system on August 1, 2014. Please check the username required for accessing the university Internet, MU WiFi and VPN from August 1, 2014 onwards.

read more

มหาวิทยาลัยปรับเปลี่ยนระบบการยืนยันตัวตน (Network Authentication) ในการเข้าใช้งานระบบ Internet, MU WiFi และ VPN ของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป

รายละเอียดเพิ่มเติม

For assistance, contact internet consult support team email consult@mahidol.ac.th or 02-849-6228,02-849-6229.
&level=L" border="0" alt=" Access Denied
Access Denied (authentication_failed)
Your username or password incorrect : General authentication failure due to bad user ID or authentication token. You will not be permitted access until your credentials can be verified.
This is typically caused by an incorrect username or password, but could also be caused by network authenticated problems.
Mahidol University will launch the new network authentication system on August 1, 2014. Please check the username required for accessing the university Internet, MU WiFi and VPN from August 1, 2014 onwards.

read more

มหาวิทยาลัยปรับเปลี่ยนระบบการยืนยันตัวตน (Network Authentication) ในการเข้าใช้งานระบบ Internet, MU WiFi และ VPN ของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป

รายละเอียดเพิ่มเติม

For assistance, contact internet consult support team email consult@mahidol.ac.th or 02-849-6228,02-849-6229.
" style="margin-top:10px;border:1px solid #eee" />
Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ Access Denied
Access Denied (authentication_failed)
Your username or password incorrect : General authentication failure due to bad user ID or authentication token. You will not be permitted access until your credentials can be verified.
This is typically caused by an incorrect username or password, but could also be caused by network authenticated problems.
Mahidol University will launch the new network authentication system on August 1, 2014. Please check the username required for accessing the university Internet, MU WiFi and VPN from August 1, 2014 onwards.

read more

มหาวิทยาลัยปรับเปลี่ยนระบบการยืนยันตัวตน (Network Authentication) ในการเข้าใช้งานระบบ Internet, MU WiFi และ VPN ของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป

รายละเอียดเพิ่มเติม

For assistance, contact internet consult support team email consult@mahidol.ac.th or 02-849-6228,02-849-6229.
 


ปัจจุบันอยู่ในช่วงที่เกิดโรคระบาดจากโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ หรือ “โควิด-19 (COVID-19)” ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จึงมีการค้นคว้าหาวิธีป้องกันและรักษาโรคนี้ ทั้งด้านการพัฒนาวัคซีนและการค้นคว้ายาต้านไวรัสโควิด-19 ซึ่งครอบคลุมถึงการนำยาที่มีใช้อยู่แล้วมาศึกษา เช่น ยาฟาวิพิราเวียร์ ในบทความนี้ให้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโคโรนาไวรัส ข้อมูลทั่วไปของยาฟาวิพิราเวียร์ และแผนการศึกษาถึงประสิทธิภาพของยาฟาวิพิราเวียร์ในการรักษาโควิด-19



ภาพจาก : https://www.thepharmaletter.com/media/image/virus_pathogen_big.jpg

โคโรนาไวรัส (coronavirus)

ไวรัสชนิดนี้มักทำให้เกิดการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจของนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมทั้งคน พบครั้งแรกในนกและสัตว์ปีกอื่นในปี พ.ศ. 2480 ส่วนในคนพบครั้งแรกราวคริสต์ทศวรรษ 1960 (ตรงกับช่วง พ.ศ. 2503-2512) สารพันธุกรรมในโคโรนาไวรัสเป็นชนิดอาร์เอนเอ (โคโรนาไวรัสจัดอยู่ในกลุ่มอาร์เอนเอไวรัส) การได้รับชื่อว่า “โคโรนาไวรัส (coronavirus)” เนื่องจากบนผิวไวรัสมีโครงสร้างส่วนที่ยื่นออกไปจึงดูเหมือนมงกุฎ โคโรนาไวรัสมีหลายสายพันธุ์ซึ่งก่อความรุนแรงและเกิดการระบาดได้แตกต่างกัน กรณีที่เกิดการระบาดรุนแรง เช่น โรคซาร์ส โรคเมอร์ส และล่าสุดเมื่อปลายปี พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) เกิดโรคจากโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่คือ “2019-nCoV (2019 novel coronavirus)” หรือ “SARS-CoV-2” และเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 โรคจากโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้รับชื่อว่า “coronavirus disease 2019”หรือ “โควิด-19 (COVID-19)” (CO มาจาก “corona”, VI มาจาก “virus”, D มาจาก “disease” และ 19 มาจาก “ค.ศ. 2019”) โควิด-19 เริ่มเกิดการระบาดที่เมืองอู่ฮั่นในประเทศจีน (Wuhan, China) ผู้ป่วยมีอาการที่สำคัญคือ มีไข้ ไอ และหายใจลำบาก มีผู้ป่วยเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

การค้นคว้ายาต้านไวรัสโควิด-19

ในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 มีกลุ่มนักวิจัยชาวจีนได้ตรวจหาฤทธิ์ยาและสารอื่นจำนวนกว่า 70,000 ชนิด โดยใช้เทคโนโลยีจำลองสถานการณ์บนคอมพิวเตอร์ (computer simulation) และการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ในหลอดทดลอง เพื่อหาศักยภาพของยาหรือสารอื่นเหล่านั้นในการนำมาใช้รักษาโรคปอดอักเสบจากไวรัสโควิด-19 ทำให้พบยาที่น่าสนใจบางชนิด ซึ่งรวมถึงฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir), คลอโรควินฟอสเฟต (chloroquine phosphate) และเรมเดซิเวียร์ (remdesivir)

ข้อมูลทั่วไปของยาฟาวิพิราเวียร์

ฟาวิพิราเวียร์ (ชื่ออื่นคือ T-705 ส่วนชื่อการค้าคือ Avigan และ Favilavir) มีลักษณะโครงสร้างเป็นอนุพันธ์ไพราซีนคาร์บอกซาไมด์ (pyrazinecarboxamide derivative) ค้นพบโดยบริษัทโตยามะเคมิคอล (Toyama Chemical Co., Ltd) ในประเทศญี่ปุ่น ยานี้ได้รับอนุมัติให้ใช้ในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 เพื่อใช้รักษาโรคไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ใช้ยาอื่นไม่ได้ผล มีการใช้ยานี้ในช่วงที่มีการระบาดอย่างหนักของไวรัสอีโบลา (Ebola virus) ในแถบอาฟริกาตะวันตกช่วงปี พ.ศ. 2557 ถึง 2559 จากข้อมูลในอดีตมีผู้ใช้ยานี้ไม่ว่าจะเป็นอาสาสมัครสุขภาพดี ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่และผู้ป่วยโรคอีโบลา มีจำนวนไม่น้อยกว่า 2,000 คน พบว่ายามีความปลอดภัย ข้อกังวลเกี่ยวกับการใช้ยานี้เกิดขึ้นเช่นเดียวกับยาต้านโคโรนาไวรัสชนิดอื่นคือปัญหาเรื่องไวรัสดื้อยา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมายาฟาวิพิราเวียร์ได้รับอนุมัติในประเทศจีนให้ใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้ใหญ่ และอนุญาตให้นำมาใช้ในการศึกษาทางคลินิกกับผู้ป่วยโควิด-19 ได้ ขณะนี้ในประเทศเกาหลีใต้อยู่ระหว่างการพิจารณาขออนุมัติทะเบียนยาแบบเร่งด่วน (fast-track approval) เพื่อใช้รักษาโควิด-19



เภสัชวิทยาของยาฟาวิพิราเวียร์

ยาฟาวิพิราเวียร์มีฤทธิ์ต้านไวรัสในกลุ่มอาร์เอนเอไวรัสได้หลากหลายชนิด เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (influenza virus), ไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อย (foot-and-mouth disease virus), ไวรัสไข้เหลือง (yellow fever virus) นอกจากนี้ยังมีการศึกษาอย่างต่อเนื่องกับไวรัสที่ก่อโรคในคนอีกหลายชนิด การที่ยานี้จะมีฤทธิ์ต้านไวรัสได้ต้องถูกเปลี่ยนแปลงในร่างกายโดยเอนไซม์ภายในเซลล์ได้เป็นฟาวิพิราเวียร์ไรโบซิลไตรฟอสเฟต (favipiravir ribosyl triphosphate) ที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส (RNA-dependent RNA polymerase หรือ RNA replicase) ซึ่งเอนไซม์ดังกล่าวมีความสำคัญในการเพิ่มจำนวนไวรัส ดังนั้นเมื่อเอนไซม์ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ จึงยับยั้งการเพิ่มจำนวนไวรัส นอกจากนี้สารดังกล่าวยังทำให้เกิดการสร้างสารพันธุกรรมอาร์เอนเอของไวรัสที่ผิดปกติและทำให้ไวรัสตาย ยาฟาวิพิราเวียร์ไม่ยับยั้งการสร้างอาร์เอ็นเอและดีเอ็นเอในเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จึงไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์ของคนและสัตว์

ยานี้ถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารได้ดีเกือบสมบูรณ์ เกิดระดับยาสูงสุดภายใน 1 ชั่วโมง (ช่วงตั้งแต่ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง) ยาถูกเปลี่ยนสภาพที่ตับโดยอาศัยเอนไซม์แอลดีไฮด์ออกซิเดส (aldehyde oxidase) เป็นส่วนใหญ่ อาศัยเอนไซม์แซนทีนออกซิเดส (xanthine oxidase) เพียงเล็กน้อย เกิดเป็นสารที่ไม่มีฤทธิ์และถูกขับออกทางปัสสาวะ ยานี้มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อัลดีไฮด์ออกซิเดสได้ด้วยจึงยับยั้งการเปลี่ยนสภาพของตัวยาเอง ด้วยเหตุนี้ค่าทางเภสัชจลนศาสตร์บางอย่างของยาจึงไม่ได้แปรผันเป็นเส้นตรงกับขนาดยาที่ได้รับ การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่ายาผ่านรกและขับออกทางน้ำนมได้ ยามีความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อลูกในท้องและอาจทำให้ลูกในท้องพิการได้โดยเฉพาะเมื่อได้รับยาในขนาดสูง

แผนการศึกษาถึงประสิทธิภาพของยาฟาวิพิราเวียร์ในการรักษาโควิด-19

จากข้อมูลเบื้องต้นที่พบว่ายาฟาวิพิราเวียร์มีประสิทธิภาพดีต่ออาร์เอ็นเอไวรัสหลายชนิด อีกทั้งได้ทดลองใช้รักษาโรคปอดอักเสบจากไวรัสโควิด-19 ที่เมืองอู่ฮั่นประเทศจีนและที่ประเทศญี่ปุ่น จึงเป็นยาที่ได้รับความสนใจ ขณะนี้ประเทศจีนมีโครงการที่จะทำการศึกษาทางคลินิกของยาดังกล่าว ในการศึกษาจะมีการแบ่งกลุ่มผู้ป่วยแบบสุ่ม เปิดเผยชื่อยาที่ให้และมีกลุ่มเปรียบเทียบ (randomized, open-label, controlled trial) จะมีทั้งหมด 6 การศึกษาที่ทำในประเทศจีน โดยยังไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่สิ้นสุดการศึกษา และหากผลการศึกษาเป็นไปอย่างที่คาดหวังจะขยายการศึกษาทางคลินิกในวงกว้างต่อไป สำหรับการศึกษาแรก (ทำโดย Beijing Chaoyang Hospital ร่วมกับ Union Hospital และ Jinyintan Hospital) เริ่มลงทะเบียนรับผู้ป่วยโควิด-19 เข้าร่วมในการศึกษาเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน เพื่อให้ยาฟาวิพิราเวียร์รับประทานวันละ 2 ครั้ง ขนาดยาที่ทำการศึกษาคือ 1,600 มิลลิกรัม, 1,800 มิลลิกรัม และ 2,400 มิลลิกรัม ให้ยานาน 10 วัน บางการศึกษาจะมีการเปรียบเทียบการใช้ฟาวิพิราเวียร์กับยาอื่น อาจเปรียบเทียบกับยาโลพินาเวียร์ที่ให้ร่วมกับริโทนาเวียร์ (lopinavir/ritonavir) ซึ่งยาสูตรผสมนี้ใช้รักษาโรคเอดส์ หรือเปรียบเทียบกับยาบาลอกซาเวียร์มาร์โบซิล (baloxavir marboxil) ที่เป็นยารักษาโรคไวรัสไข้หวัดใหญ่ ขณะนี้ยาฟาวิพิราเวียร์จึงอยู่ในขั้นตอนการศึกษาทางคลินิกเพื่อประเมินผลทั้งด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย และเป็นยาตัวหนึ่งที่เป็นความหวังสำหรับใช้รักษาโควิด-19

เอกสารอ้างอิง
  1. Avigan (favipiravir) tablet 200 mg. Report on the deliberation results. https://www.pmda.go.jp/files/000210319.pdf. Accessed: March 6, 2020.
  2. Mak E. Sihuan starts clinical trial of Ebola drug favipiravir for COVID-19, March 4, 2020. www.bioworld.com/articles/433502-sihuan-starts-clinical-trial-of-ebola-drug-favipiravir-for-covid-19. Accessed: March 6, 2020.
  3. Delang L, Abdelnabi R, Neyts J. Favipiravir as a potential countermeasure against neglected and emerging RNA viruses. Antiviral Res 2018; 153:85-94.
  4. Furuta Y, Gowen BB, Takahashi K, Shiraki K, Smee DF, Barnard DL. Favipiravir (T-705), a novel viral RNA polymerase inhibitor. Antiviral Res 2013; 100:446-54.
  5. Furuta Y, Komeno T, Nakamura T. Favipiravir (T-705), a broad spectrum inhibitor of viral RNA polymerase. Proc Jpn Acad Ser B Phys Biol Sci 2017; 93:449-63.
  6. de la Torre JC. Extending the antiviral value of favipiravir. J Infect Dis 2018; 218:509-11.
  7. Shiraki K, Daikoku T. Favipiravir, an anti-influenza drug against life-threatening RNA virus infections. Pharmacol Ther 2020. doi:10.1016/j.pharmthera.2020.107512. Accessed: March 6, 2020.
  8. Lu H. Drug treatment options for the 2019-new coronavirus (2019-nCoV). Biosci Trends 2020. doi:10.5582/bst.2020.01020. Accessed: March 6, 2020.
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้

งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด



อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คำเตือน บทความ/ข้อมูล/สื่อ ในรูปแบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ผลิตโดยมหาวิทยาลัยมหิดล มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนและสังคม โดยไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือประกอบการทำใดๆ อันผิดกฎหมาย หากหน่วยงานใดมีความประสงค์ใช้สื่อทุกรูปแบบของมหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อเผยแพร่ในนามของหน่วยงาน ขอให้ติดต่อขออนุญาตมาที่ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ploypann.chi@mahidol.edu , kulwadee.kit@mahidol.edu) หากมีข้อสงสัยประการใดโปรดสอบถามที่โทร. 02 849 6056 - 7

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้