Loading…

ฝุ่น PM 2.5 จิ๋ว แต่ไม่จบ

ฝุ่น PM 2.5 จิ๋ว แต่ไม่จบ

ศาสตราจารย์ ดร. ภญ. ลีณา สุนทรสุข ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

18,974 ครั้ง เมื่อ 2 ช.ม.ที่แล้ว
2019-03-13


แม้ข่าวคราวเกี่ยวกับฝุ่นจิ๋วหรือ พี เอ็ม 2.5 (particulate matter, PM 2.5) จะค่อยๆ เลือนหายไปจากสื่อต่างๆ ตามสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวและอุณหภูมิที่สูงขึ้น แต่ปัญหาฝุ่นยังไม่หมดไปจากประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ยังคงจะต้องเผชิญกับปัญหานี้อยู่และอาจจะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต หากยังไม่มีการแก้ไขที่ต้นเหตุ ประการสำคัญมลพิษทางอากาศไม่ได้มีเพียง พี เอ็ม 2.5 เท่านั้น แต่ยังประกอบด้วยสารพิษอื่นอีกหลายชนิดซึ่งเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังแสดงในตารางที่ 1 
 
ภาพจาก : http://www.nationmultimedia.com/img/photos/2018/February/8/928b177b227f945f5da960e5fab07009.jpeg 
 
สารพิษทางอากาศเป็นภัยใกล้ตัวที่มองไม่เห็นและปนเปื้อนอยู่ในอากาศที่เราหายใจตลอดเวลา ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะ พี เอ็ม 2.5 ซึ่งทางองค์การอนามัยโลกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง (หมายถึงมีข้อมูลยืนยันว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ ตามการแบ่งประเภทกลุ่มสารก่อมะเร็งของ International Agency for Research on Cancer)3 
เนื่องจาก พี เอ็ม 2.5 เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ขนจมูกไม่สามารถกรองได้ และสามารถแพร่เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ระบบหมุนเวียนโลหิต และอวัยวะอื่นของร่างกาย รวมทั้งฝุ่นเหล่านี้ยังเป็นตัวกลางในการนำสารอันตรายอื่นเข้าสู่ร่างกาย เช่น โลหะหนัก แคดเมียน ปรอท เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ อาทิ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคถุงลมโป่งพอง และโรคมะเร็งปอด เป็นต้น องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่าเป้าหมายของมาตรฐานฝุ่นละอองโดยกำหนดค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง และค่าเฉลี่ยทั้งปี ดังแสดงในตารางที่ 2 แม้ว่ามาตรฐานฝุ่นละอองของไทยในปัจจุบันจะมีสูงกว่าค่าเป้าหมายขององค์การอนามัยโลก ขณะนี้ได้มีข้อเสนอที่จะปรับลดค่าดังกล่าวให้มีค่าใกล้เคียงกับสากลยิ่งขึ้น (ตารางที่ 2) 
 
สถานการณ์มลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นในประเทศไทยทำให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหา ออกมาตรการต่าง ๆ รวมทั้งรณรงค์ในส่วนของภาครัฐและภาคประชาชน (ตารางที่ 3) เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและรับมือกับปัญหาใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องร่วมมือกันในการปรับปรุงคุณภาพอากาศ เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน 
 
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. https://thestandard.co/pm-2-5-environmental-nano-pollutants/ สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2562
  2. โครงการศึกษาแหล่งกำเนิดและแนวทางการจัดการฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สิงหาคม 2561
  3. https://www.iarc.fr/ สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2562
  4. วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์ และคณะ (2560), รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การประเมินทางสถิติความเข้มข้นมลพิษอากาศในกรุงเทพมหานคร, วิทยาลัยพัฒนามหานคร

บทความที่ถูกอ่านล่าสุด

รางจืด สมุนไพรแก้พิษและล้างพิษ 1 วินาทีที่แล้ว
ยาทาสเตียรอยด์สำหรับโรคผิวหนัง 3 วินาทีที่แล้ว
ทำความรู้จักกับอินูลิน (Inulin) และประโยชน์ของอินูลินต่อสุขภาพ 4 วินาทีที่แล้ว
ยาเบาหวาน ... กินอย่างไรให้ถูกต้อง 8 วินาทีที่แล้ว
ยาเขียว ยาไทยใช้ได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก… 13 วินาทีที่แล้ว
ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับกลูโคซามีน (glucosamine) ในโรคข้อเสื่อม 19 วินาทีที่แล้ว
10 อันดับอาหารที่มีโปแทสเซียมสูง กับประโยชน์ที่มีต่อสุขภาพ 21 วินาทีที่แล้ว
ยาแก้วิงเวียน ระวัง! อย่าใช้พร่ำเพรื่อ 29 วินาทีที่แล้ว
ผักชีของไทย..ดังไกลถึงญี่ปุ่น..แล้วประโยชน์คืออะไร 31 วินาทีที่แล้ว
คัดเลือกยาคุณภาพเข้าโรงพยาบาลทำกันอย่างไร 43 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา