Eng |
ภญ.กฤติยา ไชยนอก สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กระท้อนเป็นผลไม้ที่นำมาทำอาหารได้หลายอย่างและทำได้ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน ไม่ว่าจะเป็น กระท้อนดอง กระท้อนแช่อิ่ม กระท้อนลอยแก้ว กระท้องทรงเครื่อง ตำกระท้อน หรือ ยำกระท้อน....อื๊มมมม...แค่คิดก็น้ำลายสอแล้วค่ะ ทำได้มากมายหลากหลายเมนูขนาดนี้แสดงว่าเด็ดจริง ฉะนั้นเรามาทำความรู้จักกับผลไม้ชนิดนี้กันดีกว่าค่ะ
ภาพจาก : https://previews.123rf.com/images/oilslo/oilslo1710/oilslo171000546/87429503-santol-fruit-in-the-market.jpg
กระท้อน (Santol, Sentul, Red sentol, Yellow santol) หรือบางพื้นที่เรียกว่า สะตู สตียา สะโต เตียน ล่อน สะท้อน มะติ๋น มะต้อง หมากต้อง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sandoricum koetjape (Burm. f.) Merr. ชื่อพ้องคือ Melja koetjape Burm. f., S. indicum Cav., S. ternatum Blanco. เป็นพืชในวงศ์ MELIACEAE มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น ดอกช่อมีขนตามก้านดอก และกลีบเลี้ยง ใบเรียงตัวเป็นเกลียว ใบย่อยแยกเป็น 3 ใบ ขอบใบเรียบ ใบแก่มีสีแดง ผลสีเหลือง เปลือกด้านในสีเนื้อ เนื้อในมีสีขาวหุ้มเมล็ด ผลรับประทานได้ สรรพคุณพื้นบ้านระบุว่า เปลือกต้น รักษากลากเกลื้อน ใบ แก้ไข้ เปลือกต้น ดอก และผล แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อย แก้บวม ราก แก้ท้องเสีย สารสำคัญที่พบคือ koetjapic acid, katonic acid, bryonolic acid, sanjecumins A และ B, sandoripins A และ B, sentulic acid (1) คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อนในส่วนของเนื้อที่กินได้ต่อน้ำหนัก 100 ก. (พันธุ์สีเหลือง) คือ โปรตีน 0.118 ก. ไขมัน 0.1 ก. ใยอาหาร 0.1 ก. แคลเซียม 4.3 มก. ฟอสฟอรัส 17.4 มก. ธาตุเหล็ก 0.42 มก. แคโรทีน 0.003 มก. วิตามินบี1 0.045 มก. วิตามินบี3 0.741 มก. และวิตามินซี 86.0 มก. (2)
สายพันธุ์ของกระท้อนที่ได้รับความนิยมจะเป็นพวกกระท้อนห่อที่มีรสหวาน ได้แก่ พันธุ์อีล่า ปุยฝ้าย นิ่มนวล อินทรชิต ทับทิม ขันทอง เทพรส อีแดง ส่วนพันธุ์พื้นเมืองจะมีผลดก ผลมีขนาดเล็ก รสเปรี้ยว จึงนิยมนำมาทำเป็นกระท้อนดองและกระท้อนทรงเครื่อง (3) สำหรับการเลือกกระท้อนมาเพื่อรับประทานผลสุก ควรเลือกผลที่มีเปลือกสีเหลืองอมส้ม หากมีเขียวปนแสดงว่ายังไม่สุกดี เมื่อเก็บจากต้น ควรตั้งทิ้งไว้ 2 - 3 วัน อย่างที่เรียกกันว่าทิ้งไว้ให้ลืมต้น (4) และหลายๆ คนคงเคยได้ยินกันมาบ้างว่า การจะรับประทานกระท้อนให้อร่อย ต้องทุบเบาๆ พอให้น่วมทั่วผลเสียก่อน เหตุใดจึงต้องทำเช่นนั้นกันนะ ซึ่งก็มีผู้ตั้งข้อสันนิษฐานไปต่างๆ กันว่า ถ้าทุบแล้วเม็ดกับเนื้อจะแยกออกจากกันทำให้กินง่ายขึ้น หรือเนื้อกระท้อนด้านนอกมีรสฝาด แต่เม็ดมีรสหวาน ถ้าเราทุบจะทำให้เซลล์แตกแล้วความหวานของเม็ดมันจะแทรกไปตามเนื้อทำให้เนื้อหวานขึ้น แต่ก็ยังไม่มีใครทำการทดลองเพื่อพิสูจน์ข้อสันนิษฐานเหล่านี้ค่ะ ส่วนการนำเนื้อกระท้อนไปประกอบอาหารหรือแปรรูปก็ควรแช่น้ำเกลือทิ้งไว้สักครู่ แล้วขยำเบาๆ เพื่อลดความฝาดเสียก่อน
ในแต่ละปีเมื่อเข้าฤดูที่กระท้อนออกผล เรามักจะพบเห็นข่าวการเสียชีวิตจากการรับประทานกระท้อน เนื่องจากเมล็ดกระท้อนมีความลื่น ค่อนข้างแข็ง และมีปลายแหลม หากเผลอกลืนลงไปหรือเมล็ดขนาดใหญ่ลื่นไหลเข้าไปในคอ อาจติดหลอดลมหรือเป็นอันตรายต่อลำไส้ได้ อย่างที่เคยเป็นข่าวว่าหญิงวัย 68 ปี เก็บกระท้อนจากต้นข้างบ้านมานั่งกินกับลูกหลาน แล้วเกิดหัวเราะทำให้เผลอกลืนเม็ดเข้าไปโดยไม่ตั้งใจ จนรุ่งเช้าอีกวันก็มีอาการปวดท้องรุนแรง ขับถ่ายไม่ออก จนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากลำไส้ใหญ่ทะลุ ทำให้เกิดการติดเชื้อในช่องท้องและในกระแสเลือด (5) ดังนั้นจึงควรรับประทานกระท้อนด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะในเด็กและผู้สูงอายุ
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของกระท้อนยังมีค่อนข้างน้อย โดยพบว่าสารสำคัญและสารสกัดจากลำต้นและเปลือกต้นของกระท้อน มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (6) และต้านเซลล์มะเร็งหลายชนิด (7 - 13) ส่วนของเปลือกผลมีใยอาหารช่วยขับถ่าย (14) ส่วนผลและเมล็ดมีฤทธิ์ฆ่าหอย (15 -16) แต่ทั้งหมดยังเป็นเพียงการศึกษาในหลอดทดลอง
หลังจากทราบข้อมูลที่น่าสนใจของกระท้อนแล้ว ทีนี้มาลองทำเมนูกระท้อนรับประทานกันดีกว่าค่ะ วันนี้มีมาฝากกันสองเมนูค่ะ ขอขอบคุณสูตรการทำจากเว็บไซต์ Food MThai ค่ะ (17)
เมนูที่ 1 กระท้อนทรงเครื่อง
ส่วนผสม
วิธีทำ
เมนูที่ 2 กระท้อนลอยแก้ว
ส่วนผสม
วิธีทำ