เพราะอากาศเปลี่ยนแปลง...อารมณ์จึงแปรปรวน (Seasonal Affective Disorder; SAD)
อาจารย์ ดร. ภก.วสุ ศุภรัตนสิทธิ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
9,569 ครั้ง เมื่อ 7 ช.ม.ที่แล้ว | |
2018-11-28 |
นอกจากสภาพแวดล้อมจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายได้แล้ว สุขภาพใจก็สามารถได้รับผลกระทบจากสิ่งรอบตัวได้เช่นกัน สิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นข้อดี และวิเศษที่สุดสำหรับคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยซึ่งอยู่ในบริเวณแถบเส้นศูนย์สูตร คือ มีระยะเวลาช่วงกลางวันและกลางคืนที่ใกล้เคียงกันตลอดทั้งปี ในบางประเทศอาจมีสภาพอากาศและแสงแดดที่แปรปรวน เช่น ระยะเวลากลางคืนยาวนานกว่ากลางวัน รวมไปถึงบางช่วงเวลาที่มีเมฆฝนปกคลุมตลอดสัปดาห์ ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าที่เรียกว่า ภาวะซึมเศร้าฤดูหนาว (winter depression, winter blues) ภาวะดังกล่าวพบได้น้อยในประเทศไทย อย่างไรก็ตามคนไทยที่อาศัยต่างแดน อาจได้รับผลกระทบและเกิดภาวะนี้ เนื่องจากไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน และระยะเวลาในการปรับตัวที่ไม่เพียงพอ เช่น นักเรียนไทยในสหราชอาณาจักร (United Kingdom) เป็นต้น
ภาพจาก : https://cdn.images.express.co.uk/img/dynamic/128/590x/El-Nino-616643.jpg
ดังนั้นผู้ที่วางแผนจะเดินทางและคิดพักอาศัยช่วงระยะเวลาหนึ่งในต่างประเทศที่มีช่วงระยะเวลากลางวันและกลางคืนแตกต่างกันมาก หรือครึ้มฟ้าครึ้มฝนตลอดวัน ควรวางแผน ทำความเข้าใจ และสำรวจตัวเองหากรู้สึกถึงความผิดปกติ ดังต่อไปนี้
อาการ
โดยทั่วไปอาการที่พบเสมือนกับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า เพียงแต่มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม อาการที่พบได้แก่
วิธีการป้องกันและการรักษา
สาเหตุของภาวะดังกล่าวยังไม่แน่นอน แต่มีหลักฐานที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของนาฬิกาชีวภาพในร่างกาย (circadian phase shift) สารสื่อประสาท และอาจรวมไปถึงพันธุกรรม อย่างไรก็ตาม การดูแลตนเองเพื่อป้องกัน ได้แก่ จัดสรรเวลาสำหรับรับแสงแดดในช่วงกลางวันให้เพียงพอ ทำกิจกรรมกับเพื่อน หรือทำกิจกรรมที่ทำให้ตนเองรู้สึกผ่อนคลายไม่สนใจแต่สภาพอากาศ รวมไปถึงการทำสมาธิ
หากรู้สึกว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับตนเอง หรือมีผู้บอกกล่าวว่าเราเปลี่ยนไป โดยเฉพาะอาการด้านอารมณ์ ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและปรึกษาแนวทางในการรักษาที่ถูกต้อง ในส่วนของการรักษานั้น มีตั้งแต่การพูดคุยปรึกษา การปรับพฤติกรรม การใช้แสงในการบำบัด รวมไปถึงการใช้ยา ซึ่งเป็นยาที่เกี่ยวข้องกับการรักษาภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ยาในกลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) ทั้งนี้วิธีการรักษานั้นขึ้นกับอาการที่แสดงออก
สุดท้ายนี้ผู้เขียนอยากฝากไว้ หากมีปัญหาด้านสุขภาพหรือการใช้ยาควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้ยาสำหรับท่านเอง และอย่าลืมว่า “มีปัญหาเรื่องยา ปรึกษาเภสัชกรครับ”
![]() |
การใช้ยาในหญิงมีครรภ์ : ข้อแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายต่อทารกในครรภ์ 6 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
อันตรายจากสารไนเตรต-ไนไตรต์ 7 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาเขียว ยาไทยใช้ได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก… 15 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
การแพ้อาหารในเด็ก.........ข้อมูลสรุปสำหรับพ่อแม่มือใหม่ 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาที่ไม่ควรกินร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
กระชายดำกับสมรรถภาพทางเพศชาย 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
กินอะไร เลี่ยงอะไร ในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid) 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
เลือดจาง โลหิตจาง กับยาฉีดอีพีโอ (EPO) 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
อาหารหลากสี มีประโยชน์หลากหลาย (ตอนที่ 3): สารเคมีที่มีประโยชน์จากผักผลไม้ที่มีสีม่วงและสีน้ำเงิน 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
บรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะ (Tamper-Evident Packaging): ตอนที่ 4 1 นาทีที่แล้ว |
![]() ![]() |
|
ที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานภายในคณะฯ
HTML5 Bootstrap Font Awesome