เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ทีมหมูป่า เด็กติดถ้ำ กับภาวะ Refeeding Syndrome ที่ต้องระวัง


รองศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: https://f.ptcdn.info/414/058/000/pb8yon3...oWmd-o.png
อ่านแล้ว 11,884 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 04/07/2561
อ่านล่าสุด 56 นาทีที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


จากข่าวโด่งดังทั่วโลกของการติดอยู่ในถ้ำของเด็กๆ นักฟุตบอลทีมหมูป่าและโค้ชรวม 13 ชีวิตในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน เป็นระยะเวลานานถึง 9 วันเศษ อาศัยเพียงน้ำที่หยดมาตามซอกหินของผนังถ้ำปะทังชีวิต ขาดอาหารเพื่อบำรุงร่างกาย คำที่เอ่ยปากกับนักกู้ภัยชาวอังกฤษประโยคหนึ่งคือ I am hungry, eat eat eat ซึ่งแสดงว่าไม่ได้รับประทานอาหารมาหลายวัน แต่ทีมแพทย์ที่รับผิดชอบไม่สามารถที่จะให้รับประทานอาหารปกติได้ทันที ต้องจัดอาหารพิเศษเพื่อให้พลังงาน (power gel) ดูแลให้ยาและวิตามินไปก่อน ทั้งนี้เพราะกลัวว่าจะเกิดภาวะที่เรียกว่า “Refeeding syndrome” ซึ่งเป็นภาวะอันตรายอันอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้  
ภาพจาก : https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/83938 
Refeeding syndrome (RFS) หมายถึงกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นในผู้ที่มีภาวะทุพโภชนาการ หรือไม่ได้รับอาหารนานหลายวันหรืออาจนานเป็นสัปดาห์แล้วให้รับประทานอาหารตามปกติทันทีหรือปริมาณมากเกินไป ได้แก่ การให้อาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต โดยการรับประทาน หรือในรูปแบบน้ำเกลือที่มีน้ำตาลกลูโคส รวมทั้งการให้สารอาหารผ่านทางหลอดเลือดดำใหญ่ และการให้อาหารทางสายยาง จะทำให้เกิดโทษมากกว่าคุณประโยชน์ ทั้งนี้เพราะจากภาวะอดอาหารเป็นเวลานานนั้นการทำงานระดับเซลล์และอวัยวะลดลง อีกทั้งยังเกิดภาวะขาดอิเล็กโทรไลต์และเกลือแร่ร่วมด้วย ระดับอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการดึงน้ำตาลกลูโคสในเลือดเข้าเซลล์ลดลงในขณะที่กลูคากอนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำงานตรงข้ามกลับเพิ่มมากขึ้น เซลล์ขาดกลูโคสที่ใช้สร้างพลังงาน ร่างกายจึงปรับตัวโดยการสร้างกลูโคสจากไขมันและโปรตีน ผลที่ตามมาคือได้กรดไขมันอิสระและสารคีโตนเพิ่มมากขึ้นซึ่งไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย ถ้าให้อาหารตามปกติทันทีนั้น ในระยะแรกจะกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน เพื่อพากลูโคสเข้าสู่เซลล์ และมีการเคลื่อนที่ของอิเล็กโทรไลต์ แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส วิตามิน บี 1 หรือ ไทอะมีน (Thiamine) และน้ำเข้าสู่เซลล์อย่างเฉียบพลัน เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการสร้างพลังงานของร่างกาย ทำให้ระดับ โพแสเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามิน บี1 ในเลือดลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของร่างกายหลายระบบ เช่น ความไม่สมดุลของน้ำและเกลือแร่ การทำงานของระบบประสาทผิดปกติ ภาวะไตวาย และการทำงานของหัวใจล้มเหลว จนอาจเสียชีวิตได้ 
ดังนั้นในกรณีนี้ ทีมสหวิชาชีพ จึงมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการเกิด RFS ดังนี้

  • การตรวจระดับระดับอิเล็กโทรไลต์ในเลือด รวมทั้ง ฟอสฟอรัสและแมกนีเซียม ในระยะแรกและติดตาม เป็นระยะๆ
  • เสริมวิตามินและเกลือแร่ อย่างน้อยนาน 10 วัน ได้แก่ ไทอะมีน 200-300 มิลลิกัม/วัน และวิตามิน บี 1-2 เม็ด 3 ครั้ง/วัน รวมทั้งวิตามินรวม หรือเกลือแร่ที่สำคัญวันละครั้ง
  • คำนวณปริมาณของอาหารโดยเริ่มจากให้น้อยๆ และค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆในเวลา 4-7 วัน
  • สังเกตุและประเมินอาการ เช่น การรับรู้ และสัญณาณชีพ เป็นต้น

นอกจากนี้ RFS อาจเกิดได้ในผู้ป่วยโรคสมองนอนติดเตียงที่ร่างกายซูบผอม ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่น้ำหนักลดลงมาก ร่างกายผอมแห้ง ซึ่งสามารถพบได้ในโรงพยาบาล ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ควรตระหนักถึง RFS ไว้ด้วย 
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Mehanna HM, Moledina J, Travis J. Refeeding syndrome: what it is, and how to prevent and treat it. BMJ 2008;336:1495-8.
  2. Marinella MA. Refeeding syndrome: an important aspect of supportive oncology. J Support Oncol. 2009;7(1):11-6.
  3. Wirth R, Diekmann R, Janssen G et al. Refeeding syndrome : Pathophysiology, risk factors, prevention, and treatment. Internist (Berl). 2018 ;59(4):326-333. doi: 10.1007/s00108-018-0399-0.
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ยาแก้ไอ ... มีกี่แบบ ?? 19 วินาทีที่แล้ว
ยี่โถ...มีพิษจริงหรือ 37 วินาทีที่แล้ว
ลำโพง : ไม้ประดับมีพิษ 39 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้