Loading…

โปรดนำยาที่ใช้เป็นประจำไปโรงพยาบาลด้วย

โปรดนำยาที่ใช้เป็นประจำไปโรงพยาบาลด้วย

รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. ชะอรสิน สุขศรีวงศ์ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

10,528 ครั้ง เมื่อ 7 ช.ม.ที่แล้ว
2017-08-30


ท่านเคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ทำไมทุกๆ ครั้งที่เข้ารับบริการรักษาที่โรงพยาบาล หรือ 1669 บริการกู้ชีพ นอกจากที่ท่านจะได้ยินคำถามเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยแล้ว ยังมีคำถามเกี่ยวกับการใช้ยาด้วยเสมอๆ บทความนี้จะมาไขข้อข้องใจในที่มาและความสำคัญของประเด็นคำถามนี้ 
 
ภาพจาก : http://vertassets.blob.core.windows.net/image/b1e263de/b1e263de-f404-4e94-afc3-512474461298/drugs_reg__1_.png 
เนื่องจากความคลาดเคลื่อนจากการใช้ยาเกิดขึ้นได้ทุกๆ จุดของการให้บริการในโรงพยาบาล จากการทบทวนเวชระเบียบพบว่ากว่าครึ่งของการเกิดเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่รอยต่อของการให้บริการทางการแพทย์ (1) โดยสาเหตุจากการสื่อสารส่งต่อข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนในรายการยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่ เมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (admission) และแพทย์ไม่ทราบข้อมูลการใช้ยาของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยอาจจะไม่ได้รับยาที่ผู้ป่วยเคยได้รับก่อนมาโรงพยาบาล หรือขนาดยา ความถี่ หรือวิถีทางในการใช้ยาไม่ตรงกับที่ผู้ป่วยเคยได้รับ หรือไม่สั่งใช้ยานั้นเมื่อจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล รวมถึง ผู้ป่วยเองก็อาจได้รับยาซ้ำซ้อนกับที่ผู้ป่วยใช้ที่บ้าน(2) 
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดในการใช้ยา สถานบริการทางการแพทย์จึงนำ “medication reconciliation หรือการประสานรายการยา” มาเป็นกระบวนการในการจัดทำบัญชีรายการยาที่ผู้ป่วยได้รับอย่างครบถ้วน ถูกต้อง พร้อมทั้งระบุขนาดยา ความถี่ วิธีใช้ และวิถีทางในการใช้ยาและเป็นปัจจุบัน เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจสั่งยาแก่แพทย์สาหรับการรักษาในทุกระดับของการให้บริการ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสม 
 
แม้ว่าบุคลากรทางการแพทย์จะสามารถค้นประวัติการใช้ยาของผู้ป่วยได้จาก เวชระเบียนผู้ป่วย ใบสรุปรายการยาผู้ป่วยจากการเข้ารับบริการครั้งก่อน และสมุดประจำตัวผู้ป่วย (4) แต่เนื่องจากผู้ป่วยส่วนมากมักมีการใช้ยานอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ฉะนั้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์จากยาอย่างเต็มประสิทธิภาพการรักษาและเกิดความปลอดภัยสูงสุดในการใช้ยาสูงสุด การจดจำและให้ข้อมูลรายการยาที่ใช้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง 
ดังนั้นเมื่อจะไปพบแพทย์หรือเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ขอให้ผู้ป่วยหรือญาตินำยาที่ผู้ป่วยใช้เป็นประจำติดตัวไปด้วย เพื่อที่เภสัชกรจะได้นำไปแจ้งกับแพทย์เพื่อจัดการรักษาให้เหมาะสม และให้ข้อมูลว่ายาเหล่านั้นจะสามารถใช้ต่อไปได้หรือไม่ หรือยานั้นจะเกิดปฏิกริยากับยาที่จะได้รับใหม่อย่างไร จำเป็นจะต้องหยุดยาหรือไม่ 
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Rozich JD, Resar RK, Medication Safety: one organization’s approach to the challenge. J Clin Outcomes Manage 2001: 8(10): 27-34.
  2. อภิฤดี เหมะจุฑา. 2559. การประสานรายการยา MEDICATION RECONCILIATION อีกหนึ่งมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในระบบยา. From: http://www.ccpe.pharmacycouncil.org/showfile.php?file=174, Accessed July 17, 2017.
  3. บุศยา กุลบุศย์. 2555. ประสานรอยต่ อเพื่อเพิ่มความปลอดภัยด้วย Medication Reconciliation. From: http://110.78.163.74/keling/cqi/userfiles/files/download/national_forum13-2/National%20Forum_13Mar2012.pdf, Accessed July 17, 2017.
  4. ธิดา นิงสานนท์. 2551. Med reconciliation. From: http://www.med.cmu.ac.th/hospital/ha/ hospital/ha/RG2008/ไฟล์การประชุม 20-24/24June/CM12/08.30-10.00/รศ.ภญ.ธิดา/MedicationReconciliation(3).pdf, Accessed July 17, 2017.

บทความที่ถูกอ่านล่าสุด

เทมเป้ (Tempeh) อาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพ 5 วินาทีที่แล้ว
ยาแก้ปวดข้อ ข้ออักเสบ-กลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) 12 วินาทีที่แล้ว
ยาเลื่อนประจำเดือน .. ที่นี่มีคำตอบ 15 วินาทีที่แล้ว
หญ้าฝรั่น ... เครื่องเทศที่แพงที่สุดในโลก!!! 19 วินาทีที่แล้ว
ยาแก้ปวดศีรษะไมเกรน Ergotamine ใช้อย่างไรจึงจะปลอดภัย 24 วินาทีที่แล้ว
มะเขือเทศ กับ ไลโคพีน 33 วินาทีที่แล้ว
คาเฟอีนในน้ำนมแม่...มีผลอย่างไรต่อทารก? 33 วินาทีที่แล้ว
ยาแก้ข้ออักเสบ (กลุ่มเอ็นเสด)..ระวังอันตรายต่อไต 35 วินาทีที่แล้ว
ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนัง...ทางเลือกแทนการรับประทานยาคุมกำเนิด 38 วินาทีที่แล้ว
มะระขี้นก 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา