Loading…

ไอโอดีนกับสุขภาพ

ไอโอดีนกับสุขภาพ

รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.พิสมัย กุลกาญจนาธร ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

31,482 ครั้ง เมื่อ 4 ช.ม.ที่แล้ว
2017-04-28

ไอโอดีน เป็นแร่ธาตุจำเป็นต่อร่างกาย เป็นส่วนประกอบของไธรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเมตาโบริก การสังเคราะห์โปรตีน การทำงานของเอ็นไซน์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาระบบโครงสร้าง และระบบประสาทของตัวอ่อนและทารก การขาดไอโอดีนในทารกและเด็กจะทำให้พัฒนาการทางสมองช้า มีระดับไอคิวต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติ และมีสมาธิสั้น ในผู้ใหญ่จะเกิดคอพอก มีผลต่อสภาวะจิตใจและประสิทธิภาพการทำงาน การขาดอย่างต่อเนื่องเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ 
 
ภาพจาก : http://www.vitaminsall.com/wp-content/uploads/url.jpg 
ไอโอดีนเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ จับอนุมูลอิสระในร่างกาย และยับยั้งผลของอนุมูลอิสระที่ก่อให้เกิดโรคความเสื่อมต่างๆ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ได้แก่ ข้อและกระดูก โรคเบาหวาน และโรคเกี่ยวกับตา เป็นต้น ไอโอดีนจะเสริมการสังเคราะห์คลอลาเจนทำให้แผลปิดเร็วขึ้น มีผลต่อหลอดเลือด กระดูกอ่อน และส่วนประกอบในลูกตา 
ไอโอดีน เป็นธาตุที่ไม่ละลายน้ำ เป็นเกร็ดสีน้ำตาลเข้ม ระเหิดให้ไอสีม่วง ไอโอดีนที่อยู่ในอาหารมักอยู่ในรูปเกลือ “ไอโอไดด์” มีสีขาวและละลายน้ำดี พบได้ในอาหารทั่วไป พบมากในสาหร่ายและอาหารทะเล ไอโอไดด์ดูดซึมได้ดีและรวดเร็วในกระเพาะและลำไส้ใหญ่ สำหรับเกลือไอโอเดทที่มีความคงตัวมากว่าจะถูกรีดิวส์ในทางเดินอาหารและดูดซึมในรูปไอโอไดด์ เข้าสู่กระแสเลือดไปที่ต่อมไธรอยด์เพื่อสังเคราะห์ไธรอยด์ฮอร์โมน ส่วนที่เหลือจะขับถ่ายออกทางปัสสาวะ ในผู้ใหญ่สุขภาพสมบูรณ์จะมีไอโอดีน 15-20 มก. ซึ่งอยู่ในต่อมไธรอยด์ร้อยละ 70-80 ที่เหลืออยู่ในกล้ามเนื้อ เลือดและอวัยวะอื่นๆ คนทั่วไปที่รับประทานอาหารปกติ มักไม่ขาดไอโอดีน เพราะปริมาณไอโอดีนที่ร่างกายต้องการไม่มากดังแสดงในตาราง 
 
ประเทศต่างๆทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ภาคอีสานของประเทศไทย เป็นพื้นที่ห่างไกลทะเลและใช้เกลือสินเทา จึงมีโครงการการใช้เกลือเสริมไอโอไดด์ เพื่อประกอบอาหาร โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร เพื่อป้องกันการเกิดโรคเอ๋อ มีการพัฒนาการของสมองและร่างกายช้าในทารกและเด็ก โดยองค์การอนามัยโลก แนะนำให้ผสมเกลือปรุงอาหารด้วยเกลือโปตัสเซียมไอโอเดท โดยจะมีปริมาณไอโอดีนเฉลี่ย 47.5 ไมโครกรัมต่อกรัมของเกลือ 
ไอโอดีนใช้เป็นยาภายนอก เป็นยาฆ่าเชื้ออย่างอ่อน (antiseptic) โดยทำเป็นรูปแบบยาเหน็บ ยาขี้ผึ้ง ยาน้ำผสมแอลกอกฮอล (ทิงค์เจอร์ เวลาใช้จะแสบมาก) และยาน้ำโพวิโดนไอโอดีน ซึ่งใช้ไอโอดีนในรูปที่ละลายน้ำได้ เป็นการพัฒนาของผลิตภัณฑ์ไอโอดีนใช้ภายนอกที่ไม่แสบ 
สารละลายไอโอดีนเพียงหยดเดียวในน้ำแป้ง จะได้สารละลายสีม่วงแกมน้ำเงินอ่อน(ฟ้า)ถึงเข้ม ขึ้นกับปริมาณแป้ง ซึ่งผงแป้งนี้ถูกใช้เป็นสารเพิ่มปริมาณหรือความข้นของผลิตภัณฑ์ ถือเป็นสารเจือปนเพื่อลดต้นทุน ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เช่น ยาสีฟัน ผงซักฟอกทั้งชนิดผงและชนิดน้ำ น้ำยาล้างจาน ผลิตภัณฑ์ที่ดี (ราคาสูง) ไม่เติมแป้งหรือเติมอย่างเหมาะสม คงเคยเห็นบูทที่แสดงการทดสอบหยดน้ำยาสีน้ำตาลเข้ม เพื่อทดสอบความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ต่างยี่ห้อ ซึ่งเราก็สามารถทดสอบผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ด้วยตนเองโดยการหยดน้ำยาไอโอดีน (น้ำยาโพวิโดนไอโอดีนที่ใช้ใส่แผล) เพื่อเปรียบเทียบปริมาณแป้ง ใช้เป็นข้อมูลในการเลือกผลิตภัณฑ์ที่สมเหตุสมผลกับราคา

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. K?mmerer K. Pharmaceuticals in the Environment – A Brief Summary. In: K?mmerer K, editor. Pharmaceuticals in the Environment: Sources, Fate, Effects and Risks. 3rd ed. Berlin: Springer-Verlag; 2008. p. 3-21.
  2. ศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี กองแผนงานและวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. แนวปฏิบัติการจัดการของเสียทางการแพทย์ที่เป็นสารเคมี. มีนาคม 2559. [ออนไลน์]. [วันที่สืบค้นข้อมูล 7 มีนาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก http://ipcs.fda.moph.go.th/csnetNEW/file/news/23082016-145421-news.pdf
  3. Buchberger W. Current approaches to trace analysis of pharmaceuticals and personal care products in the environment. J Chromatogr A. 2011; 1218: 603-18.
  4. Prutthiwanasan B, Phechkrajarng C, Suntornsuk L. Fluorescent labelling of ciprofloxacin and norfloxacin and its application for residues analysis in surface water. Talanta 2016; 159: 74-9.

-->

บทความที่ถูกอ่านล่าสุด

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ปี 2011/2012 1 วินาทีที่แล้ว
เมลาโทนิน (melatonin) ตัวช่วยนอนหลับยอดฮิต 1 วินาทีที่แล้ว
ฟ้าทะลายโจรใช้อย่างไรให้ได้ผลและปลอดภัยในช่วง COVID-19 2 วินาทีที่แล้ว
สมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน..กินด้วยกันดีมั้ย? 2 วินาทีที่แล้ว
หยุดคิดสักนิด…ก่อนคิดฝ่าไฟแดง 23 วินาทีที่แล้ว
กว่าจะมาเป็นยา 39 วินาทีที่แล้ว
ข้อควรรู้เบื้องต้นเรื่อง “แอนติเจน เทสต์ คิท” เพื่อคัดกรองโรคโควิด-19 43 วินาทีที่แล้ว
กินอะไร เลี่ยงอะไร ในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid) 45 วินาทีที่แล้ว
ปวดไมเกรน ... ระวัง ปัญหายาตีกันของ ergotamine 48 วินาทีที่แล้ว
คัดเลือกยาคุณภาพเข้าโรงพยาบาลทำกันอย่างไร 48 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา