Loading…

ทรานซามิน (transamin) กับผิวขาว ...จริงหรือไม่?

ทรานซามิน (transamin) กับผิวขาว ...จริงหรือไม่?

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปรีชา มนทกานติกุล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

479,598 ครั้ง เมื่อ 3 ช.ม.ที่แล้ว
2011-03-03


1. ทรานซามิน (transamin) คือยาอะไร?
ทรานซามิน (Transamin®) เป็นชื่อการค้าของยา tranexamic acid ซึ่งมีฤทธิ์ในการห้ามเลือด ในประเทศไทยขึ้นทะเบียนเป็นยารักษาผู้ป่วยโรคเลือดไหลหยุดยาก หรือเลือดออกมากผิดปกติ

2. ทรานซามิน (Transamin®) ทำให้ผิวขาวขึ้นจริงหรือไม่?
ทรานซามิน (Transamin®) ยังไม่มีการศึกษาในคนว่าทำให้ผิวขาวขึ้น การศึกษาในสัตว์ทดลอง โดยการทาบนผิวหนังและส่องด้วยแสงยูวีชนิดบีไม่พบว่าทำให้เม็ดสี (เมลานิน) ลดลงเมื่อเทียบกับยาหลอก การศึกษาในคนทำเฉพาะในการรักษาฝ้าด้วยการฉีดยาเข้าผิวหนังบริเวณที่เป็นฝ้า แต่การวัดผลใช้ความพอใจของคนที่มาทดลอง โดยไม่มีการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์อื่นๆ ตรวจวัด นอกจากนี้มีการใช้ยารับประทานในการรักษาฝ้าเช่นกัน แต่จำนวนคนที่เข้ามาทดสอบมีจำนวนน้อย จึงไม่อาจสรุปได้ว่ายามีผลในการรักษาฝ้าจริง ดังนั้น ควรมีการศึกษาถึงผลดีในการรักษาฝ้าเพิ่มเติมขึ้นอีก รวมถึงการศึกษาว่าทำให้คนมีผิวขาวขึ้น ซึ่งในปัจจุบันไม่มีการศึกษาเลย

3. ผลเสียจากการรับประทาน ทรานซามิน (Transamin®) มีหรือไม่?
ประโยชน์ของ ทรานซามิน (Transamin®) ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าได้ผลทำให้ผิวขาวได้จริง ในทางกลับกัน มีรายงานผลเสียจากการใช้ยา ทรานซามิน (Transamin®) หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความกลัวถึงผลที่ยาทำให้เลือดเกิดเป็นลิ่มเลือดในร่างกาย ซึ่งอาจลอยไปตามกระแสเลือด และอุดตันเส้นเลือดต่างๆ ของอวัยวะสำคัญ เช่น หากอุดตันที่เส้นเลือดในสมอง จะทำให้เกิดอัมพาตหรือเสียชีวิต, หากอุดตันที่ปอด จะทำให้หายใจไม่ออกและเสียชีวิต, หากอุดตันที่ตาหรือไต ก็ส่งผลให้เสียชีวิตได้เช่นกัน นอกจากนี้ คนที่ใช้ยานี้ 5 คนจะมีได้ถึง 1 คนที่เกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เลือดจาง ปวดหัว อ่อนเพลีย และไม่มีแรงได้

 

4. สรุปว่าอย่างไร?
ประชาชนไม่ควรซื้อยา ทรานซามิน (Transamin®) มารับประทานเพื่อหวังผลให้ผิวขาวขึ้น เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาในคนว่าทำให้มีผิวขาวขึ้น ยกเว้นการรักษาฝ้าซึ่งก็ยังมีการศึกษาน้อยและยังสรุปผลไม่ได้ชัดเจน นอกจากนี้ ยังต้องระมัดระวังผลของยาที่อาจทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในสมอง หรือ ปอด ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา

บทความที่ถูกอ่านล่าสุด

กระท้อน 1 วินาทีที่แล้ว
เครื่องดื่มเจียวกู่หลาน ดอกคำฝอย ใบหญ้าหวาน 1 วินาทีที่แล้ว
กระชายดำกับสมรรถภาพทางเพศชาย 2 วินาทีที่แล้ว
ปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เกิดได้อย่างไร 4 วินาทีที่แล้ว
อันตรกิริยาระหว่างส้มโอกับยา (ตอนที่ 1) 5 วินาทีที่แล้ว
สเปรย์พริก?..สเปรย์พริกไทย?..Pepper spray? อะไรกันแน่ 6 วินาทีที่แล้ว
อาหารเป็นพิษ ... 5 คำถามที่พบบ่อย 9 วินาทีที่แล้ว
ไมเกรน .. กินยาไม่ถูกต้องอันตรายมากกว่าที่คิด 11 วินาทีที่แล้ว
ยาเม็ดโปแทสเซียมไอโอไดด์ ( ไอโอดีนเม็ด ) (KI) ป้องกันสารกัมมันตรังสี ไอโอดีน 131 12 วินาทีที่แล้ว
น้ำนมแม่ ประโยชน์อเนกอนันต์ 16 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา