เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


การผสมยาปฏิชีวนะชนิดผงแห้งสำหรับรับประทาน


นศภ. ฐานิตา แสงเขียว นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: http://www.in-pharmatechnologist.com/Dru...s-Delivery
อ่านแล้ว 205,206 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 12/02/2560
อ่านล่าสุด 7 นาทีที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

โรคติดเชื้อในเด็กพบได้ทั้งการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยในชุมชนมีโอกาสการเกิดขึ้นเฉลี่ย 6-8 ครั้งต่อปี1 เมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เป็นยาทางเลือกแรกที่จ่ายให้กับผู้ป่วยเด็ก ซึ่งมักจะได้รับยาฆ่าเชื้อในรูปแบบผงแห้งที่ต้องผสมกับน้ำก่อนให้ยา2 ดังนั้นวิธีการ ผสมและการเก็บรักษายาปฏิชีวนะจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ดูแลผู้ป่วยควรทราบก่อนใช้ยา 
 
ภาพจาก : http://www.petmd.com/cat/conditions/eyes/c_ct_ophthalmia_neonatorium 
ข้อปฏิบัติทั่วไปในการผสมยาปฏิชีวนะชนิดผงแห้งแบบรับประทาน3

  1. เคาะขวดยาเพื่อให้ผงยาในขวดร่วน ไม่จับกันเป็นก้อน
  2. ใช้น้ำสุกหรือน้ำสะอาด (ห้ามใช้นำอุ่นหรือน้ำร้อน เนื่องจากอาจทำให้ยาบางชนิดเสื่อมสภาพได้) เติมลงไปในขวดประมาณ ½ ของขีดที่กำหนด หรือพอท่วมผงยา
  3. เขย่าให้ยากระจายตัวทั่วไม่มีก้อนแข็ง
  4. เติมน้ำปรับระดับให้พอดีกับขีดที่กำหนด แล้วเขย่าอีกครั้ง
  5. หลังจากผสมยาเสร็จเรียบร้อยเก็บที่อุณหภูมิห้องนาน 7 วัน ถ้าเก็บในตู้เย็นเก็บได้นาน 2 สัปดาห์
  6. กรณีที่ได้รับยามากกว่า 1 ขวด ควรรอให้ยาขวดแรกหมดก่อน แล้วจึงผสมยาขวดที่ 2

อย่างไรก็ตามยังมียาปฏิชีวนะชนิดผงแห้งสำหรับประทานบางชนิดที่มีวิธีการผสมยาไม่เป็นไปตามขั้นตอนข้างต้น คือ ไม่มีขีดกำหนดบอกปริมาตรบนขวดยา แต่กำหนดปริมาตรน้ำที่จะเติมลงไปในขวดยา ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 
ซิโทรแม็กซ์ (Zithromax®) ประกอบด้วยตัวยา อะซิโทรมัยซิน (azithromycin) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดผงสำหรับผสมเป็นยาน้ำแขวนตะกอน ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีวิธีการผสมเป็นยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทานดังนี้4

  1. เคาะขวดให้ผงยากระจายตัวไม่จับเป็นก้อน กดฝาขวดพร้อมหมุนตามลูกศรเพื่อให้ขวดเปิด
  2. ตวงน้ำสุกหรือน้ำสะอาดให้ถึงขีดบนถ้วยตวงที่ให้มาในกล่อง (9 มิลลิลิตร) เทลงในขวดเพียงครั้งเดียว เขย่าให้ยาละลายเข้ากัน
  3. เขย่าขวดทุกครั้งก่อนรินยาออกมารับประทาน
  4. หลังจากผสมยาเสร็จเรียบร้อยเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียสนาน 10 วัน

ออมนิเซฟ (Omnicef®) ประกอบด้วยตัวยา เซฟดิเนียร์ (cefdinir) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดผงสำหรับผสมเป็นยาน้ำแขวนตะกอน ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีวิธีการผสมเป็นยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทานดังนี้5

  1. เคาะขวดเพื่อให้ผงยาไม่ติดกัน เปิดฝาขวด
  2. ตวงน้ำสุกหรือน้ำสะอาด ลงในถ้วยตวงที่ให้มาในกล่อง โดยแบ่งการตวงน้ำเป็น 2 ส่วนดังนี้ 
    กรณีปริมาตรสุทธิ 30 มิลลิลิตร ตวงน้ำส่วนแรกปริมาตร 9 มิลลิลิตร และตวงน้ำส่วนที่เหลือ 10 มิลลิลิตร 
    กรณีปริมาตรสุทธิ 60 มิลลิลิตร ตวงน้ำส่วนแรกปริมาตร 19 มิลลิลิตร และตวงน้ำส่วนที่เหลือ 20 มิลลิลิตร
  3. เติมน้ำส่วนแรก ลงในขวด เขย่าจนส่วนผสมเข้ากันดี
  4. เติมน้ำส่วนที่เหลือให้ครบตามปริมาตรที่กำหนด แล้วเขย่าอีกครั้ง
  5. หลังจากที่ผสมยาเสร็จเรียบร้อยเก็บที่อุณหภูมิห้อง (ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส) นาน 7 วัน 
    ถ้าเก็บในตู้เย็น (อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส) เก็บได้นาน 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นควรทิ้ง

นอกจากวิธีการผสมยาที่ผู้ดูแลควรทราบเพื่อผสมยาน้ำแขวนตะกอนให้ได้ความเข้มข้นที่เหมาะสมตามที่บริษัทระบุแล้ว การเก็บรักษายาหลังผสมและวันสิ้นสุดการใช้ ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ดูแลให้ความสำคัญเช่นกันเพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ป่วยได้รับประทานยาที่มีความคงตัวและออกฤทธิ์ได้ดังเดิมเพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Chan GC, Tang SF. Parental knowledge, attitudes and antibiotic use for acute upper respiratory tract infection in children attending a primary healthcare clinic in Malaysia. Singapore Med J. 2006;47:266–70.
  2. Fokkens WJ, Lund VJ, Mullol J, Bachert C, Alobid I, Baroody F, et al. European Position Paper on Rhinosinusitis and Nasal Polyps 2012. Rhinol Suppl. 2012 Mar(23):1-298.
  3. ุชาดา ชุติมาวรพันธ์, บรรณาธิการ. คู่มือทักษะตามเกณฑ์ความรู้ความสามารถทางวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สภาเภสัชกรรม. กรุงเทพ, 2554
  4. Zithromax™ (azithromycin) [prescribing information]. Thailand: Pfizer. November 2013.
  5. Omnicef™ (cefdinir) [prescribing information]. Thailand: Pfizer. April 2012.


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


อันตรายจากการสัก 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2025
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้