Loading…

บทบาทเภสัชกรกับการใช้ยาในทางที่ผิดของวัยรุ่น

บทบาทเภสัชกรกับการใช้ยาในทางที่ผิดของวัยรุ่น
อาจารย์ ดร.ภก.ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
15,243 ครั้ง เมื่อ 4 นาทีที่แล้ว
2016-07-10

ปัจจุบันปัญหาการใช้ยาในทางที่ผิดของวัยรุ่นกำลังทวีความรุนแรงขึ้น และ ส่งผลกระทบต่อสังคมไทย ในรูปแบบของปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม และ ปัญหาเศรษฐกิจในที่สุด

ร้านขายยามีบทบาทสำคัญการแก้ปัญหาใช้ยาในทางที่ผิด ดังนี้
  1. บทบาทในการคัดกรองผู้ใช้ยาในทางที่ผิด
  2. ส่งเสริมให้เกิดกำลังใจแก่วัยรุ่นไม่ให้ข้องแวะกับยาที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
  3. เป็นผู้ให้เบาะแสแก่ ผู้ปกครอง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาของวัยรุ่นในชุมชน
วิธีการที่ร้านขายยามีส่วนร่วมในการป้องกันการใช้ยาทางที่ผิดของวัยรุ่น ทำได้ดังนี้
  1. สังเกตพฤติกรรมการซื้อยาของวัยรุ่น และ การสอบถามเพื่อตรวจสอบ-ป้องกัน
    เริ่มต้นจากการไม่ใช้อคติต่อวัยรุ่น ต้องไม่ใช้สีหน้าของการจับผิด การใช้คำพูดต้องอ่อนโยน เพื่อสร้างความอุ่นใจแก่วัยรุ่น
    สิ่งที่ควรสังเกตคือ วัยรุ่นมีอาการหลบสายตา ไม่กล้าสู้หน้า หรือ มีท่าทีของการระแวดระวังในการของซื้อยาหรือไม่ เพราะพฤติกรรมเหล่านี้ เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าวัยรุ่นอาจมีเจตนาซื้อยาไปใช้ในทางที่ผิด
    เภสัชกร หรือ เจ้าของร้านควรสอบถาม วัยรุ่นว่า จะซื้อยาดังกล่าวไปเพื่ออะไร บางกรณีเขาอาจมีความจำเป็นต้องใช้ยาเหล่านั้น หรือซื้อให้คนที่บ้านก็ได้ แต่ถ้าวัยรุ่นตอบมาว่า ใช้เพื่อบรรเทาอาการไอ หรือ หวัด เภสัชกร หรือ เจ้าของร้านควรมีการซักประวัติเพื่อประกอบการตัดสินใจ เพราะวัยรุ่นที่ซื้อยาเพื่อไปใช้ในทางที่ผิดจะไม่มีอาการที่ชี้นำให้เห็ฯความจำเป็นในการจ่ายยา
    เมื่อมีสัญญาณของการซื้อยาไปใช้ในทางที่ผิด เภสัชกร และเจ้าของร้าน ควรที่จะปฏิเสธการขายยาให้แก่วัยรุ่น เพราะการขายยาให้แก่เขาจะเป็นการสร้างปัญหาแก่สังคม และบ้านเมือง
    อย่าคิดว่าถึงเราไม่ขายยาแก่วัยรุ่น เขาก็จะไปซื้อได้ที่ร้านยาอื่น เพราะถ้าร้านยาอื่นๆที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมมือกันไม่ขายจะทำให้วัยรุ่นเข้าถึงยาเหล่านี้ไปยากขึ้น ทั้งการไม่ขายยาแก่วัยรุ่นที่มีแนวโม้มจะนำยาไปใช้ในทางที่ผิดจะเป็นการแสดงความรักชาติ และรับผิดชอบกับเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ โดยที่เรายอมสละประโยชน์ที่เราได้จากการขาย แต่รักษาประโยชน์ของสังคมคือ คนส่วนใหญ่ สมดังปณิธาณของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ว่า "ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง"
  2. สื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงวัยรุ่นให้มีจิตใจเข้มแข็ง และห่างไกลจากการใช้ยาในทางที่ผิด
    ก่อนอื่นต้องเริ่มจากการสื่อสารเพื่อสร้างความไว้วางใจ มีท่าทีที่เป็นมิตร และเป็นกันเอง น่าอุ่นใจ ชวนพูดคุยเพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ของวัยรุ่น เพื่อให้ทราบว่าพวกเขากำลังประสบความกดดันอะไรบ้าง เราต้องรับฟังอย่างตั้งใจและไม่ใช้อคติ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และ นำเสนอทางเลือกที่เหมาะสม เช่น การออกกำลังกาย การทำสาธารณประโยชน์ เพื่อสร้างการยอมรับ บางครั้งวัยรุ่นต้องการสร้างการยอมรับ จึงใช้ยาในทางที่ผิดร่วมกับเพื่อนเพื่อให้ได้การยอมรับจากการมีอัตลักษณ์ร่วมกัน ดังนั้น เราควรที่จะสร้างโอกาสในชุมชนให้แก่วัยรุ่นกลุ่มนี้ผ่านกิจกรรมสาธารณประโยชน์ดังกล่าว
    ยกตัวอย่างของวัยรุ่นที่เข้มแข็ง และพ้นจากพิษภัยให้รับทราบ พร้อมทั้งชี้ให้เห็นตัวอย่างในทางเสื่อมเสียจากการใช้ยาในทางที่ผิด
  3. การให้ข้อมูลแก่หน่วยงานที่รับผิดชอบในการพัฒนาเยาวชน และสาธารณสุข เช่น
    ศูนย์เยาวชน ศูนย์กีฬาและนันทนากร ห้องสมุด รวมทั้งโรงพยาบาลชุมชน และศูนย์บริการสาธารณสุข เพื่อให้ทราบปัญหา และ ร่วมสร้างกิจกรรมเพื่อให้วัยรุ่นทราบถึงพิษภัยของการใช้ยาในทางที่ผิด และมีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้วัยรุ่นใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ รวมทั้งสร้างการยอมรับจากชุมชน
  4. พูดคุยกับพ่อแม่ผู้ปกครองของวัยรุ่นเพื่อรับทราบพฤติกรรม และรวมมือกันชักชวนให้ ลด ละ เลิก การใช้ยาในทางที่ผิด
    ทั้งนี้เพราะพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นองค์ประกอบสำคัญของสังคม จึงจำเป็นที่ต้องให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีความเข้าใจถึงปัญหาเหล่านี้ โดยต้องแนะนำให้พ่อแม่ให้เวลากับบุตรหลานให้มากกว่าที่เป็นอยู่ การพูดคุยกับบุตรหลาน รวมทั้งการสอดส่งพฤติกรรมที่ผิดปกติของวัยรุ่นเพื่อให้เกิดการรับมือเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อการป้องกันปัญหา

นี่คือวิธีการเบื้องต้นในการช่วยแก้ปัญหาการใช้ยาที่ผิดในวัยรุ่น และจะเป็นการป้องกันเยาวชนของชาติจากโทษของการใช้ยาในทางที่ผิด อีกทั้งยังเป็นการทำให้พลเมืองของประเทศในอนาคตมีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจในการพัฒนาชาติต่อไป
แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. http://drug.fda.moph.go.th/zone_search/files/sea001_003.asp
  2. http://drug.fda.moph.go.th:81/เผยแพร่วิชาการ 2559 (
-->

บทความที่ถูกอ่านล่าสุด

“เห็ด” แหล่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ 14 วินาทีที่แล้ว
ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)...กินอย่างไรให้เหมาะสม 21 วินาทีที่แล้ว
กระชายดำกับสมรรถภาพทางเพศชาย 21 วินาทีที่แล้ว
ยาห้าราก : ตำรับยาสมุนไพรแก้ไข้ 23 วินาทีที่แล้ว
น้ำเกลือแร่สำหรับท้องเสีย: เลือกที่ใช่ ใช้ถูกต้อง 31 วินาทีที่แล้ว
ยาทาสเตียรอยด์สำหรับโรคผิวหนัง 32 วินาทีที่แล้ว
10 อันดับอาหารที่มีโปแทสเซียมสูง กับประโยชน์ที่มีต่อสุขภาพ 32 วินาทีที่แล้ว
ยาคุมกำเนิดชนิดฉีด 34 วินาทีที่แล้ว
ยาหอม กับคนวัยทำงาน 36 วินาทีที่แล้ว
เผลอลืมให้ยาสัตว์เลี้ยงไป...ควรทำอย่างไรดี 42 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา