เจ็ทแลค (Jet lag) เพลียเพราะบินไกลกินเมลาโตนินอย่างไรให้ได้ผล
รองศาสตราจารย์ วิมล ศรีศุข ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
87,871 ครั้ง เมื่อ 6 ช.ม.ที่แล้ว | |
2015-10-11 |
โดยปกติร่างกายจะมีการหลั่งสารประกอบที่เรียกว่า เมลาโตนิน (Melatonin) จากต่อมไพเนียล (Pineal gland) ในสมอง โดยจะมีการหลั่งมากในตอนกลางคืน ทำให้เรานอนหลับ จึงมักเรียกเมลาโตนินว่าเป็น “Hormone of Darkness” แปลเป็นไทยได้ว่า “ฮอร์โมนแห่งรัตติกาล” ส่วนในช่วงกลางวันเมื่อเริ่มมีแสงสว่าง ระดับเมลาโตนินจะลดลง ทำให้เราตื่น ลุกขึ้นมาทำกิจวัตรประจำวันได้
เจ็ทแลค (Jet lag) คืออะไร
เจ็ทแลค เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายยังปรับจังหวะเวลาให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ที่มีเวลา (time zones) แตกต่างกันไม่ได้ เนื่องจากร่างกายยังเคยชินกับเวลาในสภาพแวดล้อมเดิมอยู่ อาการของเจ็ทแลค คือ จังหวะของการนอนและการใช้ชีวิตเปลี่ยน มีความกังวลและมีอาการซึมเศร้า มีความผิดปกติของกระเพาะอาหารและลำไส้ ระบบหัวใจหลอดเลือด อาการมึนงง และประจำเดือนผิดปกติ หากสภาพแวดล้อมเดิมและสภาพแวดล้อมใหม่มีเวลาตามนาฬิกาต่างกัน 12 ชั่วโมง จะเทียบเท่ากับอยู่ห่างกัน 12 time zones โดยทั่วไปจะใช้เวลาเท่ากับระยะห่างของ time zones ในการปรับตัวให้เป็นปกติ คือ ต้องใช้เวลา 12 วัน กว่าที่จะปรับตัวให้เข้ากับเวลาของสภาพแวดล้อมใหม่ได้
การให้เมลาโตนินในคนเพื่อบรรเทาเจ็ทแลค ได้ผลหรือไม่
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เมลาโตนิน ที่มีการศึกษามาเป็นระยะเวลานานเกือบ 30 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 มีการใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็ทแลค มีรายงานที่รวบรวมข้อมูลการศึกษาการใช้เมลาโตนินในการเดินทางทางเครื่องบินจริงดังนี้
ควรให้เมลาโตนินอย่างไรจึงจะได้ผล
นอกเหนือจากการให้เมลาโตนิน การป้องกันการเกิดเจ็ทแลค ยังมีปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง คือ แสงสว่าง การออกกำลังกาย มื้ออาหาร มีผู้สรุปคร่าวๆเกี่ยวกับการเตรียมตัวล่วงหน้าที่ต้นทาง ในวันที่เดินทาง และที่ปลายทาง โดยรวบรวมจากรายงานการศึกษาต่างๆ และสรุปโดยจัดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กินเมลาโตนินแล้วมีอาการไม่พึงประสงค์อย่างไรหรือไม่
อาการไม่พึงประสงค์จากการกินเมลาโตนิน เท่าที่มีรายงานไปยัง องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา คือ ความดันโลหิตสูง, ปอดบวม, มึนงง, สับสน, นอนหลับไม่สนิท, โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke), อาการทางระบบทางเดินหายใจ, อาการซึมเศร้า, ปวดศรีษะ, อาการทางระบบทางเดินอาหาร
ให้เมลาโตนินกับคนทุกวัยได้หรือไม่
ควรหลีกเลี่ยงการให้เมลาโตนินในกลุ่มคนเหล่านี้
![]() |
ฟ้ารั่ว ฝนปรอย กับโรคเมลิออยโดสิส 1 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ทีมหมูป่า เด็กติดถ้ำ กับภาวะ Refeeding Syndrome ที่ต้องระวัง 2 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาต้านมะเร็ง 7 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ไขปริศนา น้องหมาท้องเสียควรให้กินโยเกิร์ตหรือไม่ 9 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
การผสมยาปฏิชีวนะชนิดผงแห้งสำหรับรับประทาน 12 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
กลูต้าไธโอน (glutathione) ทำให้ขาวจริงหรือ?? 15 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
แอสไพริน (aspirin) 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ก่อนกินกลอย...ดูกันให้ดีๆ ก่อนนะ 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาฆ่าเชื้อกินไม่ครบ ทำไมจึงดื้อยา 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาทาภายนอก...ออกฤทธิ์ที่ไหน? 1 นาทีที่แล้ว |
![]() ![]() |
|
ที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานภายในคณะฯ
HTML5 Bootstrap Font Awesome