Eng |
แจ้งงดให้บริการเว็บไซต์ เนื่องจากมีการปรับปรุงระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าของอาคาร
ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 17 ม.ค. 2568 เวลา 17.00 น.
ถึงวันจันทร์ที่ 20 ม.ค. 2568 เวลา 08.00 น.
ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้
รองศาตราจารย์ ยุวดี วงษ์กระจ่าง ผู้ช่วยอาจารย์ เภสัชกร วสุ ศุภรัตนสิทธิ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ปัจจุบันการนำผลิตภัณฑ์สมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบมาใช้นั้นเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งได้ใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ร่วมกับยารักษาโรคแผนปัจจุบัน จึงเป็นไปได้ว่าอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาแผนปัจจุบันกับสมุนไพร (Herb-drug interactions) ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากผู้ที่ใช้สมุนไพรมองข้ามการให้ข้อมูลในส่วนนี้ ไม่ได้แจ้งให้แพทย์ผู้ทำการรักษาทราบว่าตนกำลังใช้สมุนไพรใดอยู่ จึงอาจเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ได้โดยเฉพาะการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพรนั้นอาจจะค่อยๆ เกิดขึ้นโดยไม่อาจสังเกตเห็น จนกระทั่งผู้ป่วยเกิดอันตรายหรือมีผลต่อร่างกายอย่างรุนแรง
รายงานเกี่ยวกับปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพรยังมีน้อย บุคลากรที่มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น แพทย์ เภสัชกร จึงควรตระหนักและให้คำปรึกษาแก่ผู้ใช้สมุนไพรร่วมกับยา ตลอดจนข้อควรระวัง เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร
การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร สามารถอธิบายได้ 2 รูปแบบ คือ
จากรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่าสมุนไพรบางชนิด มีผลการศึกษารายงานว่าเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร ส่งผลกระทบต่อการรักษาอย่างชัดเจน เช่น เซนต์จอห์นเวิร์ท (St.John's Wort; Hypericum perforatum Linn) หรือ เกรปฟรุต (Grapefruit; Citrus paradisi Macfad) ที่เริ่มได้รับความนิยมในประเทศไทย
ในขณะเดียวกัน มีกรณีศึกษา (Case reports) จากผู้ป่วยหลายรายที่เกิดความผิดปกติในร่างกายเมื่อใช้ยาร่วมกับสมุนไพร ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากกว่าข้อมูลจากทฤษฎีหรือจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ (ในหลอดทดลองหรือสัตว์ทดลอง) อย่างไรก็ตามการให้ข้อมูลต่างๆ เช่น ระยะเวลาที่เริ่มเกิดอาการ ความรุนแรง และอาการที่เกิดขึ้น ในกรณีศึกษายังมีข้อจำกัดหลายด้าน จึงต้องตระหนักด้วยว่ารายงานเพียง 1-2 รายงาน อาจไม่ใช่หลักประกันของการห้ามใช้สมุนไพรร่วมกับยานั้นๆ การติดตามผลการรักษาหรือสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งจำเป็น หากมีการใช้สมุนไพรร่วมกับยาแผนปัจจุบัน
ตัวอย่างจากรายงาน
การศึกษาในปัจจุบันยังคาดการณ์การใช้สมุนไพรและยาแผนปัจจุบัน ว่าอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพรในทางทฤษฎีได้ โดยกลไกการเกิดคล้ายคลึงกับในกรณีที่มีรายงาน หรือ กรณีศึกษา เช่นกัน
ตัวอย่างจากการคาดการณ์ทางทฤษฎี