Eng |
แจ้งงดให้บริการเว็บไซต์ เนื่องจากมีการปรับปรุงระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าของอาคาร
ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 17 ม.ค. 2568 เวลา 17.00 น.
ถึงวันจันทร์ที่ 20 ม.ค. 2568 เวลา 08.00 น.
ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้
เภสัชกร สุรศักดิ์ วิชัยโย ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
บ่อยครั้งที่มีผู้ป่วยมาขอซื้อยาล้างไตที่ร้านยาด้วยวัตถุประสงค์แตกต่างกัน เช่น บางรายมีอาการปวดบริเวณเอวด้านหลังและกลัวว่าจะเป็นโรคไต จึงอยากได้ยาล้างไตเพื่อล้างทำความสะอาดและขับสารพิษออกจากไต หรือบางรายมีอาการปัสสาวะแสบขัดหลังจากมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน จึงอยากได้ยาล้างไตโดยเข้าใจว่าจะสามารถล้างภายในอวัยวะเพศและทางเดินปัสสาวะให้สะอาดได้ อย่างไรก็ตาม “ยาล้างไต” ที่ชาวบ้านเรียกกันจนติดปากนั้น จริงๆแล้วเป็นยาที่มีข้อบ่งใช้สำหรับ “ขับปัสสาวะและบรรเทาอาการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ” เนื่องจากในตำรับยาประกอบด้วยสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ และขับปัสสาวะ ดังแสดงในตาราง นอกจากนี้ ยังมีการเติมสีเข้าไป เช่น เมทิลีนบลู (methylene blue หรือ methylthioninium chloride) ซึ่งเป็นสารสีน้ำเงิน เมื่อรับประทานยา ปัสสาวะจะมีสีน้ำเงินหรือเขียว ขึ้นกับสีพื้นเดิมของปัสสาวะว่าใสหรือเหลือง จึงอาจทำให้ผู้ป่วยบางรายเข้าใจว่ายาไปขับสารพิษหรือสิ่งสกปรกภายในไตและทางเดินปัสสาวะออกมา
จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่ายาสูตรผสมนี้ไม่มีสรรพคุณช่วยล้างไตแต่อย่างใด จึงไม่ควรเรียกว่า “ยาล้างไต” นอกจากนี้ หากใช้ยานี้อย่างไม่เหมาะสมอาจทำให้
ดังนั้น เมื่อเจ็บป่วยและมีความประสงค์ที่จะใช้บริการร้านยา ผู้ป่วยควรแจ้งอาการเจ็บป่วยที่เป็น ให้เภสัชกรทราบ เพื่อให้ได้รับคำแนะนำในการรักษาและการใช้ยาอย่างถูกต้องเหมาะสม หรือควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการหรือโรคนั้นๆ
"ปัจจุบันยาที่มีส่วนผสมดังกล่าว ได้ถูกเพิกถอนทะเบียนตำรับยาแล้ว (ไม่มีขายในประเทศไทย) โดยมีรายละเอียดตามลิ้งค์ด้านล่าง http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/054/44.PDF |