เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


เทอร์โมมิเตอร์กับการดูแลลูกน้อยเมื่อเป็นไข้


รองศาสตราจารย์.ดร.ภญ.พิสมัย กุลกาญจนาธร, รศ.ภญ.ยุวดี วงษ์กระจ่าง และ ภก.วสุ ศุภรัตนสิทธิ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 299,972 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 25/10/2556
อ่านล่าสุด 1 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

ไข้เป็นสิ่งบ่งบอกว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย มักทำให้เด็กงอแง และที่สำคัญอาจมีอาการชักตามมาได้ อุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 – 38 องศาเซลเซียสขึ้นไปจะถือว่าเด็กเป็นไข้ การใช้เทอร์โมมิเตอร์ปรอทวัดอุณหภูมิร่างกายมีความน่าเชื่อถือมากกว่าการใช้มือสัมผัสเด็ก และสามารถประเมินได้อย่างละเอียดกว่าอีกด้วย 
เทอร์โมมิเตอร์กับปรอท 
สารปรอทที่บรรจุภายในเทอร์โมมิเตอร์ เป็นโลหะสีขาวคล้ายเงิน เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง และระเหยกลายเป็นไอได้ ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ง่ายขึ้น ซึ่งปรอทจะเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางปาก ทางเดินหายใจและทางผิวหนัง พิษสารปรอทมีทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง พิษชนิดเฉียบพลันมักเกิดจากอุบัติเหตุโดยการกลืนกินสารปรอทเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งปริมาณปกติที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายและทำให้ตายได้ โดยเฉลี่ยประมาณ 0.02 กรัม อาการที่เกิดจากการกลืนกินปรอท คือ อาเจียน ปากพอง แดงไหม้ อักเสบและเนื้อเยื่ออาจหลุดออกมาเป็นชิ้นๆ เลือดออก ปวดท้องอย่างแรง เนื่องจากปรอทกัดระบบทางเดินอาหาร มีอาการท้องร่วงอย่างแรง อุจจาระเป็นเลือด เมื่อร่างกายเสียเลือดมากจะเป็นลม สลบ เมื่อเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิต ปรอทจะไปทำลายไต ทำให้ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะเป็นเลือด และตายในที่สุด พิษชนิดเรื้อรัง จะไปทำอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งได้แก่ สมอง และไขสันหลัง ทำให้เสียการควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของแขน ขา การพูด และยังทำให้ระบบประสาทรับความรู้สึกเสียไป เช่น การได้ยิน การมองเห็น ซึ่งอันตรายเหล่านี้ เมื่อเป็นแล้วรักษาให้กลับดีดังเดิมไม่ได้ หากได้รับจากการหายใจ ปอดอักเสบ มีอาการเจ็บหน้าอก มีไข้ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกและตายได้ 
ประโยชน์ของปรอททางการแพทย์ 
ปรอทใช้ในการทำอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เทอร์โมมิเตอร์ และเครื่องมือที่ใช้วัดความดันโลหิต 
ซัลไฟด์ของปรอทใช้ทำสีแดงในยาสมุนไพร 
ปรอทเป็นตัวทำละลายที่ดีสำหรับโลหะบางชนิด สารผสมที่ได้เรียกว่าอะมัลกัม ใช้เป็นวัสดุในการอุดฟัน โดยผสมปรอทกับโลหะผสมระหว่างเงินกับดีบุก 
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Grabenstein John D. ImmunoFacts : Vaccines and Immunologic Drugs-2010. St. Louis, Mo.: Wolters Kluwer Health; 2009.
  2. HPV and Cancer. National Cancer Institute; [cited 2013 June 9]; Available from: http://www.cancer.gov/cancertopics/factsheet/Risk/HPV#r6.
  3. Human Papillomavirus (HPV) Vaccines. National Cancer Institute; [cited 2013 June 9]; Available from: http://www.cancer.gov/cancertopics/factsheet/Prevention/HPV-vaccine.
  4. วัคซีน : การวิจัยพัฒนา การผลิต การควบคุมคุณภาพ และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค. จรุง เมืองชนะ, สมฤดี จันทร์ฉวี, บรรณาธิการ. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2555. -->
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


มะระขี้นก 1 นาทีที่แล้ว
ยาลดไขมันในเลือด 1 นาทีที่แล้ว
ยาบ้า 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้