Loading…

อันตรายจากสารเคมีใกล้ตัว

อันตรายจากสารเคมีใกล้ตัว

สุรินทร์ อยู่ยง ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ชำนาญงานพิเศษ) ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

100,782 ครั้ง เมื่อ 5 ช.ม.ที่แล้ว
2013-08-21

 
คุณรู้หรือไม่ว่า ทุกวันนี้คนเราล้วนมีชีวิตเกี่ยวข้องกับสารเคมีชนิดต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมในบ้านก็มีมากมายจนแทบจะไม่รู้ว่าจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดไหนดี และสิ่งที่สำคัญคือ เราลืมไปว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นสารเคมีอันตราย ที่ต้องใช้ด้วยความเข้าใจและระมัดระวัง เพื่อ ความปลอดภัย 
ผลิตภัณฑ์เหล่านี้แบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 
 

  1. สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลง
  2. น้ำยาทำความสะอาด
  3. น้ำยาซักล้าง
  4. สารกำจัดกลิ่น


แนวทางป้องกันเพื่อชีวิตที่ปลอดภัยควรทำดังนี้ 
 

  1. ทุกครั้งที่ใช้ต้องแน่ใจว่าอ่านฉลากอย่างละเอียดและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
  2. ใช้ในปริมาณที่จำเป็น และไม่คิดเอาเองว่าการเพิ่มปริมาณการใช้จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของสารเคมี และที่สำคัญ คือห้ามใช้รวมกันหลาย ๆ ประเภท ยกเว้นว่าระบุให้ใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นๆ ได้
  3. ใช้ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ในห้อง ควรเปิดหน้าต่างหรือใช้พัดลมระบายอากาศ
  4. ล้างภาชนะที่ใช้ให้สะอาดทุกครั้งและเก็บในที่มิดชิด ปลอดภัยและพ้นจากมือเด็ก
  5. หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนถ่ายบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่เคยใช้บรรจุอาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนในการใช้งาน หรือนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง
  6. หญิงมีครรภ์ควรงดใช้เพื่อป้องกันอันตรายต่อเด็กและทำความสะอาดร่างกายทุกครั้งหลังการใช้ผลิตภัณฑ์
  7. ลดการใช้หรือหาทางเลือกอื่น ๆ ทดแทน
  8. เมื่อเกิดอุบัติเหตุเช่นมีกรดหรือด่างหกรดร่างกาย ต้องล้างด้วยน้ำสะอาดมาก ๆ เพื่อเจือจางความเข้มข้น ถ้ารับประทานเข้าไปควรนำส่งโรงพยาบาลพร้อมกับผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที


แม้ทุกวันนี้เราต้องเกี่ยวข้องกับสารเคมีมากขึ้น จงใช้อย่างรู้และรอบคอบ ทำตามฉลากระบุจนเป็นนิสัย เพื่อลดและหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารเคมี มีทางเลือกอื่น ๆ ที่ใช้ได้ดังแสดงในตาราง 
ตารางแสดงทางเลือกที่ใช้ทดแทนการใช้ผลิตภัณฑ์สารเคมีในกิจกรรมประเภทต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

ประเภทตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาการไม่พึงประสงค์ทางเลือก
สารป้องกันและกำจัดแมลงยาฉีดกันยุง สเปรย์ฆ่าแมลง ยากำจัดมด ปลวก เหยื่อกำจัดแมลงสาบเวียน หรือปวดศีรษะ อ่อนเพลีย แน่นหน้าอกหายใจลำบาก ชัก หรือหัวใจหยุดเต้น
  1. ทำความสะอาดบ้านไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค
  2. อุดรูที่มดเดินด้วยพริกไทยป่นหรือ ใบสะระแหน่แห้ง หรือโรยด้วยผงฟู
  3. ใช้ตะแกรงกรองเศษอาหารก่อนลงท่อน้ำทิ้ง เพื่อไม่ให้ท่อตันอันเป็นแหล่งอาหารของมดและแมลงสาบ
  4. ถ้าท่อน้ำตัน ใช้ผงฟู 1 กำมือและน้ำส้มสายชูครึ่งถ้วยเทใส่ท่อระบายน้ำ ปิดปากท่อให้สนิท 1 นาที แล้วเทน้ำร้อนลงไป
น้ำยาทำความสะอาดน้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาทำความสะอาดเตา โลหะ เครื่องเงิน น้ำยาเช็ดกระจก น้ำยาทำความสะอาดพรม เบาะระคายเคืองผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจ
  1. ผสมเกลือกับผงฟูอย่างละเท่า ๆ กัน ใช้ผ้าชุบน้ำ เช็ดแทนผงขัดเงา
  2. ผสมน้ำส้มสายชูกับน้ำในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน เช็ดรอยเปลื้อนแทนน้ำยาเช็ดกระจก
น้ำยาซักล้างผงซักฟอก น้ำยาซักแห้งและน้ำยาซักผ้าขาว น้ำยาปรับผ้านุ่มระคายเคืองตา ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หายใจไม่สะดวกผสมผงฟู 1 ส่วน น้ำส้มสายชู 1 ส่วน และน้ำ 2 ส่วน แทนน้ำยาปรับผ้านุ่ม
สารกำจัดกลิ่นผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้ในห้องน้ำ ตู้เสื้อผ้าหายใจไม่สะดวก มีอาการสั่น กล้ามเนื้อหดเกร็ง เสียความทรงจำ
  1. กำจัดแหล่งกำเนิดกลิ่น
  2. เปิดหน้าต่างระบายอากาศ
  3. ปลูกต้นไม้ไว้ตามมุมต่าง ๆ เพื่อฟอกอากาศ


เมื่อรู้ถึงภัยที่แฝงเร้นอยู่ข้างกายอยู่ทุกวันแล้ว เราสามารถเลือกได้ว่าจะมีวิธีการอยู่ร่วมหรือรับมือกับมันได้อย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายขึ้นภายหลัง

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1.  

-->

บทความที่ถูกอ่านล่าสุด

กล้วย...ไม่ได้ใช้ทำกระทงได้อย่างเดียวนะ 1 วินาทีที่แล้ว
ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ยาลดความอ้วน Phentermine 1 วินาทีที่แล้ว
อาหารหลากสี มีประโยชน์หลากหลาย (ตอนที่ 1): อาหารหลากสีคืออะไร 1 วินาทีที่แล้ว
ผู้สูงวัยกับสุขภาพจิตที่ต้องดูแล 23 วินาทีที่แล้ว
วิตามินดี แสงแดด และอาการซึมเศร้า 23 วินาทีที่แล้ว
การนอน .. เพื่อชะลอวัยและเพื่อสุขภาพ 24 วินาทีที่แล้ว
เมอร์ส : โคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 24 วินาทีที่แล้ว
การพัฒนาอนุภาคนาโนและระบบนำส่ง ตอนที่ 2 24 วินาทีที่แล้ว
ยาหอม..มรดกทางภูมิปัญญา ที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ 24 วินาทีที่แล้ว
ไม้ประดับมีพิษ….คิดสักนิดก่อนจะปลูก 24 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา