Loading…

กินมะเขือเทศอย่างไรได้ไลโคปีน (lycopene) สูง

กินมะเขือเทศอย่างไรได้ไลโคปีน (lycopene) สูง
รองศาสตราจารย์ วิมล ศรีศุข ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
475,623 ครั้ง เมื่อ 1 วันที่แล้ว
2010-02-02

ไลโคปีน (Lycopene)เป็นสารสำคัญที่พบได้ในผลมะเขือเทศ จัดเป็นสารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์ชนิดหนึ่งใน 600 ชนิด พบไลโคปีนได้ใน มะเขือเทศ แตงโม เกรพฟรุตสีชมพู ฝรั่งสีชมพู และมะละกอ เป็นต้นพบไลโคปีนในปริมาณตั้งแต่ 0.9 –9.30 กรัม ใน 100 กรัมของมะเขือเทศสด

ไลโคปีนเป็นสารประกอบที่ได้รับความสนใจเนื่องจากมีรายงานว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ ที่ชัดเจนที่สุด คือ มะเร็งต่อมลูกหมาก รองลงมา คือมะเร็งปอด กระเพาะอาหาร นอกจากนี้ก็ยังแสดงให้เห็นประโยชน์ของการได้รับไลโคปีนในการลดความเสี่ยงของมะเร็งตับอ่อน ลำไส้ใหญ่ (colon) ทวารหนัก คอหอย ช่องปาก เต้านม ปากเป็นต้น

ควรรับประทานมะเขือเทศสดหรือมะเขือเทศที่ผ่านการปรุงอาหารแล้ว

ความเชื่อที่ว่าของสดดีกว่าของที่ปรุงแล้ว ไม่ได้เป็นจริงเสมอไป ในกรณีของมะเขือเทศเป็นหนึ่งในข้อยกเว้น มะเขือเทศที่ผ่านความร้อนจะทำให้การยึดจับของไลโคปีนกับเนื้อเยื่อของมะเขือเทศอ่อนตัวลง ทำให้ไลโคปีนถูกร่างกายนำไปใช้ได้ดีกว่า นอกจากนี้ความร้อนและกระบวนการต่างๆในการผลิตผลิตภัณฑ์มะเขือเทศยังทำให้ไลโคปีนเปลี่ยนรูปแบบ (จากไลโคปีนชนิด “ออลทรานส์”(all-trans-isomers)เป็นชนิด “ซิส”(cis -isomers)) คือ เป็นชนิดที่ละลายได้ดีขึ้น

มะเขือเทศสดและผลิตภัณฑ์มะเขือเทศ ชนิดใดให้ไลโคปีนสูงกว่ากัน

โดยทั่วไป ปริมาณไลโคปีนในผลไม้และมะเขือเทศสดจะไม่แตกต่างกันมาก แต่เมื่อนำมะเขือเทศสดไปผ่านกระบวนการผลิตให้อยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์มะเขือเทศชนิดต่างๆ พบว่าปริมาณไลโคปีนสูงขึ้นมาก เนื่องจากมีการผ่านกระบวนการทำให้เข้มข้นขึ้น ดังนั้น อาหารอิตาเลียน พวกพิซซ่า สปาเก็ตตี้ ที่มีการแต่งรสด้วยซอส หรือผลิตภัณฑ์มะเขือเทศเข้มข้น (Tomato paste) ที่ผลิตจากมะเขือเทศ จึงเป็นแหล่งให้ไลโคปีนที่ดี ดังในตาราง

ตาราง แสดงปริมาณไลโคปีนในมะเขือเทศและผลิตภัณฑ์มะเขือเทศ

ผลิตภัณฑ์มะเขือเทศ

ปริมาณไลโคปีน

(มิลลิกรัม ต่อ น้ำหนัก 100 กรัม)

มะเขือเทศสด

มะเขือเทศปรุงสุก

ซอสมะเขือเทศ(Tomato sauce)

ซุปมะเขือเทศเข้มข้น

(Tomato soup (condensed))

น้ำมะเขือเทศ

ซอสพิซซ่า (Pizza sauce)

ซอสมะเขือเทศ

(Tomato ketchup)

มะเขือเทศผง

ผลิตภัณฑ์มะเขือเทศเข้มข้น (Tomato paste)

0.88-4.20

3.70

6.20

7.99

5.00-11.60

12.71

9.90-13.44

112.63-126.49

5.40-150.0

แหล่งอ้างอิง/ที่มา

บทความที่ถูกอ่านล่าสุด

วิธีปฏิบัติตัวเบื้องต้นเพื่อป้องกันผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 3 วินาทีที่แล้ว
สเต็มเซลล์ (Stem Cell); เซลล์ต้นกำเนิด ตอนที่1: สเต็มเซลล์คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร? 12 วินาทีที่แล้ว
การค้นคว้ายาต้านไวรัสโควิด-19 ตอนที่ 4 : กลุ่มโมโนโคลนอลแอนติบอดี โมลนูพิราเวียร์ และยาอื่น 21 วินาทีที่แล้ว
การพัฒนาอนุภาคนาโนและระบบนำส่ง ตอนที่ 2 23 วินาทีที่แล้ว
การพัฒนาอนุภาคนาโนและระบบนำส่ง ตอนที่ 4 (Development of Nanoparticles and Delivery Systems: Chapter IV) 24 วินาทีที่แล้ว
บรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะ (Tamper-Evident Packaging) : ตอนที่ 1 42 วินาทีที่แล้ว
ผลิตภัณฑ์นมจากพืชกับการใช้บริโภคทดแทนนมวัว 45 วินาทีที่แล้ว
บรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะ (Tamper-Evident Packaging): ตอนที่ 9 1 นาทีที่แล้ว
มาทำความรู้จักกับ สาขาวิชาเภสัชวินิจฉัย 1 นาทีที่แล้ว
ปัสสาวะเปลี่ยนสีหลังกินยา 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา