Loading…

เภสัชมหิดลจัดบรรยายพิเศษโดยผู้เชี่ยวชาญจาก Shanghai Institute of Organic Chemistry และ Chinese Academy of Sciences สาธารณรัฐประชาชนจีน

22 ครั้ง   22 กรกฎาคม 2568

เมื่อวันอังคารที่ 22 กรกฎาคม 2568 เวลา 14.30 - 16.30 น. ผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. ภก.วิชิต โนสูงเนิน รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.ศิตาพร ยังคง รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร และ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภก.สมนึก บุญสุภา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ร่วมให้การต้อนรับ Prof. Yao Jianhua จาก Shanghai Institute of Organic Chemistry, Chinese Academy of Sciences สาธารณรัฐประชาชนจีน และ Prof. Wang Junwei จาก Chinese Academy of Sciences Innovation Cooperation Center Bangkok ในโอกาสที่เดินทางมาเยือนคณะฯ เพื่อบรรยายพิเศษและเจรจาความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยระหว่างสองสถาบัน ณ ห้องประชุม 401 อาคารวิจัยฯ

กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายพิเศษ 2 หัวข้อ โดย Prof. Yao Jianhua ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อ AI Applications in Pharmacy, Chemistry, and Biology และ Prof. Wang Junwei ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อ Allicin E – Antimicrobial: Providing Innovative Solutions in the Fight Against Pathogenic Microorganisms โดยมีคณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาของคณะฯ กว่า 20 คน ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังการบรรยายดังกล่าว

การจัดกิจกรรมครั้งนี้นับว่าเป็นเวทีที่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่ทันสมัย กระตุ้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ และเสริมสร้างโอกาสในการพัฒนางานวิจัยระดับนานาชาติ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ได้แก่ เป้าหมายที่ 4 การศึกษาที่เท่าเทียมและมีคุณภาพ เป้าหมายที่ 10 การลดความเหลื่อมล้ำ และเป้าหมายที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านการส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาระดับนานาชาติและการพัฒนาเครือข่ายการวิจัยอย่างยั่งยืน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา