Loading…

เภสัชมหิดลเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “มหิดลเพื่อการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 1”

23 ครั้ง   28 มิถุนายน 2568

ระหว่างวันที่ 28-30 มิถุนายน 2568 ผู้บริหารและบุคลากรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภญ.อัญชลี จินตพัฒนากิจ รองคณบดีฝ่ายการคลัง และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภญ.ปัทมพรรณ โลมะรัตน์ รองคณบดีฝ่ายแผนและพัฒนาคุณภาพ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ภก.ปรีชา มนทกานติกุล และ นางสาวจุติมา เสมอ นักวิทยาศาสตร์ (ผู้ชำนาญการพิเศษ) สังกัดภาควิชาสรีรวิทยา เข้าร่วมในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ "มหิดลเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Mahidol Change Agent) รุ่นที่ 1" ซึ่งจัดโดย กองแผนงาน ร่วมกับ กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ดำเนินพวา รีสอร์ท อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมี ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานพิธีเปิด และมี คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้บริหารและผู้แทนจากส่วนงานต่างๆ เข้าร่วมโครงการอบรมฯ

ตลอดการจัดโครงการมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อต่าง ๆ อาทิ "มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างสังคมสุขภาวะ" โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล หัวข้อ "Impact Measurement and Management" โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวข้อ "Social Science Research for SDGs" โดย รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล หัวข้อ “Public Policy เพื่อสังคมที่ดีกว่า” โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เป็นต้น

โครงการ Mahidol Change Agent จัดโดย เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 3 Policy Advocacy, Leaders in Professional/ Academic Services and Excellence in Capacity Building for Sustainable Development Goals และ มุ่งสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Changemaker/Change Agent) ให้กับมหาวิทยาลัย เป็นต้นแบบของการเป็นผู้นำที่มีอิทธิพลอย่างโดดเด่น ภายใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน Mahidol Change Agent รุ่นที่ 1 มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 55 คน เป็นบุคลากรสายวิชาการจำนวน 40 คน และสายสนับสนุน จำนวน 15 คน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา