เภสัชมหิดลเป็นเจ้าภาพร่วมจัดประชุมวิชาการนานาชาติ International Regulatory Science Forum 2025 สร้างความตระหนักรู้ในการกำกับดูแลคุณภาพเภสัชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเครื่องมือแพทย์
4 ครั้ง 21 มีนาคม 2568 |
เมื่อวันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2568 ศาสตราจารย์ ดร. ภญ.ลีณา สุนทรสุข อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชเคมี เป็นผู้แทนคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการเข้าร่วมเป็นวิทยากรรับเชิญในการประชุมวิชาการนานาชาติ International Regulatory Science Forum 2025 ซึ่งจัดขึ้นโดย National Cheng Kung University (NCKU) เป็นเจ้าภาพหลัก โดยมี คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล และ University of Southern California (USC) เป็นเจ้าภาพร่วม ณ Chang Yung-Fa Foundation International Convention Center กรุงไทเป สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
การประชุมวิชาการ International Regulatory Science Forum 2025 ถูกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-22 มีนาคม 2568 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ประกอบด้วยการบรรยายทางวิชาการ 4 ส่วน ได้แก่
- Session 1: Regulatory Challenges for Biosimilars: Perspectives from Regulatory Authorities
- Session 2: Bio Industries' Points of View: Sharing Experiences and Challenges on Biosimilars
- Session 3: Regulatory Science Issues for Biosimilars: Perspectives from Academia
- Session 4: Accessibility and Utilization: (1) Health Policy to Enhance Clinical Utilization (2) Clinical Experience Sharing
ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์ ดร. ภญ.ลีณา สุนทรสุข ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อ Navigating Biosimilar Regulation: Academic Insights ใน Session 3: Regulatory Science Issues for Biosimilars: Perspectives from Academia โดยการบรรยายดังกล่าวทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับยาชีววัตถุคล้ายคลึง ในแง่มุมต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในอนาคต
การประชุมวิชาการ International Regulatory Science Forum 2025 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการประชุมมีความตระหนักรู้และเห็นถึงความสำคัญด้านการกำกับดูแลคุณภาพเภสัชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องมือแพทย์และผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้องอื่น ๆ โดยจัดให้มีการบรรยายที่ครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนา การควบคุมคุณภาพ กำกับดูแล การขึ้นทะเบียนยา การใช้ทางการแพทย์ นโยบาย จากมุมมองของภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยผู้บรรยายจากยุโรป เอเชียและสหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ การเข้าร่วมในการประชุมดังกล่าวยังนับเป็นการตอบสนองต่อพันธกิจของคณะฯ ในการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
เหตุการณ์ล่าสุด
![]() ![]() |
|
ที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานภายในคณะฯ
HTML5 Bootstrap Font Awesome