เภสัชมหิดลให้การต้อนรับคณาจารย์และบุคลากรจาก คณะเภสัชศาสตร์ ม.เชียงใหม่ เข้าศึกษาดูงานการบริหารจัดการ CAPQ ฝ่ายเคมี และ ฝ่ายสมุนไพร
119 ครั้ง 27 พฤษภาคม 2568 |
เมื่อวันอังคารที่ 27 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผกากรอง วนไพศาล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหารนวัตกรรมและธุรกิจสัมพันธ์ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.ปิยนุช โรจน์สง่า หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ (ฝ่ายเคมี) และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภญ.ธฤตา กิติศรีปัญญา หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ (ฝ่ายสมุนไพร) ร่วมให้การต้อนรับคณะผู้บริหารและบุคลากรจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ ห้องประชุม 606 ชั้น 6 อาคารราชรัตน์ ในโอกาสเดินทางมาศึกษาดูงาน ณ ศูนย์วิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ ฝ่ายเคมีและฝ่ายสมุนไพร
คณะผู้เข้าศึกษาดูงานจาก คณะเภสัชศาสตร์ ม.เชียงใหม่ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภญ.ดรุณี หงษ์วิเศษ รองคณบดีฝ่ายการเงินและการคลัง และรักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเภสัชชุมชน และ รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.จุฑามาศ เจียรนัยกุลวานิช หัวหน้าศูนย์บริการเภสัชกรรม พร้อมด้วยคณาจารย์ บุคลากร เภสัชกร นักวิทยาศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวนทั้งสิ้น 16 ท่าน
การศึกษาดูงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรทั้งสองสถาบันได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนในการจัดทำระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ทั้งด้านการวางระบบ การควบคุมคุณภาพภายใน และกระบวนการขอรับการรับรองมาตรฐาน ตลอดจนแนวทางการให้บริการวิเคราะห์ทดสอบทางเคมีและชีวเคมีด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูง รวมถึงรูปแบบการให้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์แก่ผู้รับบริการในกลุ่มต่าง ๆ
คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากคณะเภสัชศาสตร์ ม.เชียงใหม่ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการแลกเปลี่ยนความรู้ในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือทางวิชาการที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นระหว่างทั้งสองสถาบัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาและยกระดับคุณภาพการให้บริการทางวิทยาศาสตร์และเภสัชศาสตร์ของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังสอดคล้องกับพันธกิจของคณะฯ ในการเป็นศูนย์กลางบริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 8 คือ ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่และ มีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน และเป้าหมายที่ 9 คือ สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม
เหตุการณ์ล่าสุด
![]() ![]() |
|
ที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานภายในคณะฯ
HTML5 Bootstrap Font Awesome