Loading…

ภาควิชาจุลชีววิทยาจัดกิจกรรม “MicroPharma Bootcamp 2025” เสริมสร้างความรู้ด้านจุลชีววิทยาแก่เยาวชนไทย

180 ครั้ง   17 พฤษภาคม 2568

เมื่อวันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภาควิชาจุลชีววิทยา จัดกิจกรรม “MicroPharma Bootcamp 2025” โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.มัลลิกา ชมนาวัง รองคณบดีฝ่ายบริหารนวัตกรรมและธุรกิจสัมพันธ์ เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม และกล่าวต้อนรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 66 คน ณ ห้อง 206 อาคารราชรัตน์ 

ทั้งนี้ กิจกรรม MicroPharma Bootcamp 2025 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-18 พฤษภาคม 2568 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านจุลชีววิทยาและเภสัชศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่านกิจกรรมเชิงปฏิบัติการที่หลากหลาย เช่น การเพาะเชื้อจุลินทรีย์ การตรวจสอบลักษณะของเชื้อ การทดสอบความไวต่อยาปฏิชีวนะ และการทำงานในห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพ อีกทั้งยังส่งเสริมการเรียนรู้แบบสหสาขาวิชา ผ่านการบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญของคณะฯ ในสาขาเภสัชศาสตร์ จุลชีววิทยา และการวิจัยทางคลินิก เพื่อเปิดมุมมองการเรียนรู้ที่กว้างขึ้น รวมถึงการฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม การแก้ปัญหา และการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้วิเคราะห์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ผ่านกิจกรรมกลุ่ม อีกด้วย

กิจกรรม MicroPharma Bootcamp 2025 ถือเป็นเวทีสำคัญในการปูพื้นฐานความรู้ และพัฒนาทักษะด้านจุลชีววิทยา รวมทั้งส่งเสริมทักษะการเข้าสังคม ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการสื่อสารและทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์และเชิงวิพากษ์ ให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษา เพิ่มโอกาสในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา และเตรียมความพร้อมสู่การประกอบอาชีพในอนาคตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน

กิจกรรมครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งความมุ่งมั่นของคณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล ในการขับเคลื่อนการเรียนรู้เชิงรุก ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพสู่เยาวชน พร้อมทั้งเป็นเวทีสำคัญในการประชาสัมพันธ์หลักสูตรระดับปริญญาตรีของคณะฯ แก่ผู้สนใจในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพในอนาคตอีกด้วย

นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังสนับสนุนพันธกิจของคณะฯ ด้านการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3: สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย และเป้าหมายที่ 4: สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา