Loading…

งานวิเทศสัมพันธ์ฯ จัดโครงการฝึกอบรมนักศึกษาแลกเปลี่ยนจาก School of Pharmaceutical Sciences, Kyushu University ประเทศญี่ปุ่น ประจำปี 2568

114 ครั้ง   3 มีนาคม 2568

เมื่อวันจันทร์ที่ 3 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานวิเทศสัมพันธ์ฯ จัดโครงการฝึกอบรมนักศึกษาแลกเปลี่ยนต่างชาติจาก School of Pharmaceutical Sciences, Kyushu University ประเทศญี่ปุ่น ณ ห้องบรรยาย 404 อาคารราชรัตน์ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.ศิตาพร ยังคง รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร พร้อมด้วยคณาจารย์ประจำสาขาวิชาเภสัชกรรมเทคโนโลยี และ คณาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ ร่วมให้การต้อนรับ และร่วมปฐมนิเทศนักศึกษาแลกเปลี่ยน จำนวน 3 คน ซึ่งได้เดินทางมาประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนและฝึกอบรมทางวิชาชีพเฉพาะทาง ณ สาขาวิชาเภสัชกรรมเทคโนโลยี ภาควิชาเภสัชกรรม และ ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ถึงวันที่ 3 เมษายน 2568

นักศึกษาแลกเปลี่ยนทั้ง 3 คน จาก School of Pharmaceutical Sciences, Kyushu University ประเทศญี่ปุ่น  ประกอบด้วย 
1. Ms. Hanano TANI เข้ารับการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติการวิจัย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จิราพร เลื่อนผลเจริญชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาเภสัชกรรมเทคโนโลยี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
2. Mr. Takamasa DOMOTO เข้ารับการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติการวิจัย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.จิรพงศ์ สุขสิริวรพงศ์ หัวหน้าหน่วยเครื่องมือวิจัยกลาง และอาจารย์ประจำสาขาวิชาเภสัชกรรมเทคโนโลยี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
3. Ms. Yuiko ESHIMA เข้ารับการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติการวิจัย โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.เบญญากาญจน์ พงศ์กิจวิทูร หัวหน้าภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

ทั้งนี้ โครงการฝึกอบรมนักศึกษาแลกเปลี่ยนต่างชาติดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะวิชาการและวิชาชีพของนักศึกษาในสาขาเภสัชศาสตร์เฉพาะทาง ผ่านการวิจัยและฝึกปฏิบัติภายใต้การดูแลของคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญของคณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ร่วมกันในระดับนานาชาติ และผลักดันให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการอย่างเป็นที่ประจักษ์ในระดับสากล อีกทั้งยังเป็นโอกาสสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัยระดับสากลระหว่างสองสถาบันที่มีมาอย่างยาวนานให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ของสังคมและวงการสาธารณสุขในอนาคต

นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวตอบสนองพันธกิจของคณะฯ ในการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอีกด้วย 

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา