อ่านแล้ว 1,614 ครั้ง
ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2564
เมื่อวันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09.00-16.30 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานกิจการนักศึกษา จัดโครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้วยกระบวนการ “การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning)” สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ในหัวข้อ ’P‘MUPY Guide How to Survive: รู้อะไรให้รอด รู้อะไรแล้วไม่ต้องมาเสียดายทีหลัง จนต้องพูดว่า..รู้งี้!’ ครั้งที่ 1 ณ ห้อง 322 อาคารศููนย์การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยได้รับเกียรติจากคณะวิทยากรซึ่งนำโดย ภก.ณภัทร สัตยุตม์ (ศิษยเก่าเภสัชมหิดล Rx41) ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และ ภก.ธรรมเศรษฐ์ บุญประชา (ศิษยเก่าเภสัชมหิดล Rx42) ผู้ประสานงานทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ บริษัท เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ (ไทย) จำกัด พร้อมทีมงานเข้าร่วมเป็นผู้นำวิทยากรและเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมกลุ่ม ภายใต้หัวข้อ ’รู้อะไรให้รอด รู้อะไรแล้วไม่ต้องมาเสียดายทีหลัง จนต้องพูดว่า..รู้งี้!’ โดยมีนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 รวมจำนวน 74 คน ให้ความสนใจเข้าร่วมในกิจกรรมดังกล่าว
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยมุ่งหวังที่จะเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้ทดลองและทดสอบในบรรยากาศของความไว้วางใจ เกิดความรู้สึกปลอดภัยที่จะแสดงออกถึงโมเดลความคิด (mental model) และความคิดฝังลึก (tacit knowledge) อภิปรายพูดคุยกันอย่างสุนทรียสนทนา (dialogue) เพื่อท้าทายกรอบความคิดเดิมสู่การเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงใหม่ โดยมีผู้อำนวยการเรียนรู้ (facilitator) ช่วยกระตุ้นการสะท้อนคิดสนับสนุนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
Photo Gallery