หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ขอสอบถามค่ะ กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน ที่เป็นหวัดและมีน้ำมูกไหล การให้ Antihistamine เพื่อลดน้ำมูกสามารถใช้ได้ไหมคะ เพราะจากเอกสารกำกับยา antihistamine ในท้องตลาดส่วนมากจะแนะนำให้ใช้ในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป หรือให้ในเด็ก 2 ปีขึ้นไปเลย และการใช้ antihistamine gen 1 และ 2 ร่วมกัน เช่น การให้ทาน gen 1 แบบ tid กับ gen 2 OD ก่อนนอน จะมีผลข้างเคียงหรือประโยชน์มากกว่ากันในการลดน้ำมูกของอาการหวัดคะ

ถามโดย เข้างาน 7 วัน เผยแพร่ตั้งแต่ 30/08/2024-16:26:03 -- 322 views
 

คำตอบ

Antihistamine หรือยาแก้แพ้ ใช้สำหรับป้องกันหรือบรรเทาอาการแพ้ เช่น น้ำมูกหรือน้ำตาไหล ผื่นคัน เป็นต้น ยาแก้แพ้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ยาแก้แพ้รุ่นที่ 1 (ตัวอย่างยา เช่น chlorpheniramine, dimenhydrinate, hydroxyzine) ใช้ลดน้ำมูกได้ดี แต่สามารถผ่านเข้าสู่สมองสูง มีอาการข้างเคียงที่พบบ่อย เช่น ง่วงซึม เสมหะเหนียวข้น ปัสสาวะไม่ออก (ถ้าใช้ยาขนาดสูงในเด็กเล็ก) เป็นต้น จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ยาแก้แพ้รุ่นที่ 1 โดยทั่วไปไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ส่วนยาแก้แพ้รุ่นที่ 2 (ตัวอย่างยา เช่น cetirizine, levocetirizine, fexofenadine, loratadine) ตัวยาผ่านเข้าสู่สมองน้อย จึงไม่เกิดอาการง่วงซึมเท่ายาแก้แพ้รุ่นที่ 1 แต่ลดน้ำมูกจากหวัดได้ไม่ดี และมีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าสามารถใช้ cetirizine ขนาด 0.25 mg/kg วันละสองครั้งกับเด็กอายุ 6-11 เดือนได้ อย่างไรก็ตามการศึกษานี้มีระยะเวลาการใช้ยาเพียง 7 วัน ดังนั้นสำหรับการลดน้ำมูกจากหวัด ยาแก้แพ้รุ่นที่ 1 ช่วยลดน้ำมูกได้ดีกว่ารุ่นที่ 2 และไม่แนะนำให้ทานยาแก้แพ้ 2 ชนิดร่วมกันเนื่องจากไม่ทำให้เกิดประโยชน์มากขึ้น เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ใช้จากแพทย์ในบางกรณี

Reference:
1. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ยาแก้แพ้รับประทานแล้วเสี่ยงสมองเสื่อมจริงหรือ? [อินเตอร์เน็ต]. 2024 [เข้าถึงเมื่อ 2024 ก.ย. 11]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/ยาแก้แพ้-รับประทานแล้วเ/.

2. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับยาแก้แพ้หรือยาลดน้ำมูก (antihistamine) [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2567 ก.ย. 11]. เข้าถึงได้จาก: https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/ทำความเข้าใจเกี่ยวกับยe/.

3. Therapeutic Goods Administration. First-generation oral sedating antihistamines - do not use in children [internet]. 2022 [cited 2024 Sep 10]. Available from: https://www.tga.gov.au/news/safety-updates/first-generation-oral-sedating-antihistamines-do-not-use-children.

4. Simons FE, Silas P, Portnoy JM, Catuogno J, Chapman D, Olufade AO. Safety of cetirizine in infants 6 to 11 months of age: a randomized, double-blind, placebo-controlled study. J Allergy Clin Immunol. 2003;111(6):1244-8.

5. National Health Service. Cetirizine: antihistamine that relives allergy symptoms [internet]. 2021 [cited 2024 Sep 11]. Available from: https://www.nhs.uk/medicines/cetirizine/.

6. พูลสุข จันทร์วัฒนเดชากุล. ยาแก้แพ้. คอลัมภ์ยาน่ารู้ สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) [อินเตอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 2567 ก.ย. 15]. เข้าถึงได้จาก: https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet4/july8/medicine.htm.

Keywords:
ยาแก้แพ้รุ่นที่ 1, ยาแก้แพ้รุ่นที่ 2, เด็ก, antihistamine





ทางเดินหายใจและหูตาคอจมูก

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้