หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ถ่ายเป็นมูกปกติ แต่หมอจัดยา metronidazole400mg+Azithromycin250mg+Albendazole200mg กินเป็นเวลา10วัน หลังจากนั้นมีอาการแน่นท้องฝั่งซ้ายและปวดหลังล่างซ้ายสีข้างมาตลอด อยากทราบว่ายาทั้งสามตัวมีผลทำให้มีอาการเช่นนี้ได้มั้ยครับ ตอนนี้จะเข้าเดือนที่สามแล้วยังมีอาการอยู่แล่ะมากขึ้น ต้องทำยังไงครับ ไปct scan ลำไส้น้เล็กส่วนปลายหนาขึ้น ทั้งที่ก่อนทานยาสามตัวนี้ไม่มีอาการอะไรเลยครับ

ถามโดย กิตติชัย เผยแพร่ตั้งแต่ 28/05/2024-13:38:28 -- 820 views
 

คำตอบ

อาการถ่ายเป็นมูก ถือเป็นอาการหนึ่งของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ invasive bacteria ได้แก่ Shigella spp. หรือเชื้อ parasites เช่น Entamoeba histolytica และมักทำให้ผู้เกิดเกิดไข้ ปวดศีรษะ ปวดเบ่งที่ทวารหนัก ถ่ายมีมูกเลือดปน เป็นต้น ดังนั้นการรักษาจึงมุ่งเน้นที่การให้ยาปฏิชีวนะที่สามารถทำลายเชื้อในลำไส้ สำหรับ metronidazole ขนาด 400 mg เป็นยารักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียและโปรโตซัวบางชนิด อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจพบได้ เช่น อาการปั่นป่วนทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ปัสสาวะสีเข้ม เป็นต้น ส่วน azithromycin ขนาด 250 mg เป็นยารักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรีย อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจพบได้ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ระคายเคืองกระเพาะอาหาร เบื่ออาหาร เป็นต้น และ albendazole ขนาด 200 mg เป็นยารักษาอาการติดเชื้อจากพยาธิบางชนิด อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจพบได้ เช่น ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เป็นต้น ซึ่งอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจากยาเหล่านี้่มักจะดีขึ้นหลังจากหยุดใช้ยา สำหรับอาการแน่นท้องฝั่งซ้ายและปวดหลังล่างฝั่งซ้ายนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคกระเพาะและลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อ โรคตับอ่อนอักเสบ กรวยไตอักเสบ เป็นต้น ในกรณีที่มีลำไส้เล็กส่วนปลายหนาขึ้นด้วยอาจมีสาเหตุจากลำไส้อักเสบ ควรติดตามการรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่องเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงและได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี

Reference:
1. สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ร่วมกับสำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูรักษาผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในผู้ใหญ่ [Internet]. 2000 [cited 2024 Jun 23]. Available from: https://www.gastrothai.net/th/guideline-detail.php?content_id=33.
2. Nemeth V, Pfleghaar N. Diarrhea [Internet]. PubMed. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2024 [cited 2024 Jun 24]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK448082/#:~:text=Common%20complications%20of%20common%20pathogens.
3. พจมาน พิศาลประภา. ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลนครธน. “ลำไส้อักเสบ” โรคที่คนส่วนใหญ่คิดว่าแค่อาการท้องเสียธรรมดา [Internet]. 2024 [cited 2024 Jun 23]. Available from: https://www.nakornthon.com/article/detail/ลำไส้อักเสบ-โรคที่คนส่วนใหญ่คิดว่าแค่อาการท้องเสียธรรมดา.
4. Micromedex. Metronidazole [Internet]. 2024 [cited 2024 Jun 20]. Available from: https://www-micromedexsolutions-com.ejournal.mahidol.ac.th/micromedex2/librarian/.
5. Micromedex. Azithromycin [Internet]. 2024 [cited 2024 Jun 23]. Available from: https://www-micromedexsolutions-com.ejournal.mahidol.ac.th/micromedex2/librarian/.
6. Micromedex. Albendazole [Internet]. 2024 [cited 2024 Jun 23]. Available from: https://www-micromedexsolutions-com.ejournal.mahidol.ac.th/micromedex2/librarian/.

Keywords:
metronidazole, azithromycin, albendazole, ถ่ายเป็นมูก





ทางเดินอาหาร

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้