หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Nanomedicine และ Nanopharmacology…อีกก้าวหนึ่งของการรักษาโรค

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน กรกฎาคม ปี 2547 -- อ่านแล้ว 5,012 ครั้ง
 
ปัจจุบันนี้มีวิทยาการทางด้าน “nanotechnology” เกิดขึ้น ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ค้นคว้าและผลิตเครื่องมือขนาดเล็กมากที่มี molecular dimension อยู่ในช่วงของ”nanometers” หรือ “1 ในพันล้านส่วนของเมตร” หรือ “10-9 เมตร” เมื่อนำศาสตร์ด้านนี้มาใช้ผลิตยาทำให้เกิดวิทยาการด้าน “nanomedicine” ซึ่งเกี่ยวข้องกับการนำ “nanotechnology” มาใช้ประโยชน์เพื่อการวินิจฉัยและรักษาโรคโดยใช้เครื่องมือขนาดเล็ก (รวมถึงยา) ที่มีอนุภาคเล็กมากในระดับ “นาโน” เพื่อให้เครื่องมือหรือยาขนาดอนุภาคเล็กมากดังกล่าวไปทำปฏิกิริยา (interact) โดยตรงที่เป้าหมาย ซึ่งได้แก่ เซลส์ เนื้อเยื่อ หรือ biological process ต่างๆ ผู้ที่ริเริ่มศาสตร์ด้าน “nanomedicine” อย่างจริงจัง คือ Robert Freitas ซึ่งได้เขียนหนังสือด้าน “nanomedicine” ในปี 1999 ต่อไปในอนาคตคาดว่า “nanomedicine” จะมีบทบาทในการรักษาโรคบางอย่างซึ่งปัจจุบันยังรักษาไม่หาย โดยจะมียาไปออกฤทธิ์ตรงตำแหน่งที่ต้องการโดยตรงในปริมาณเพียงเล็กน้อย โดยที่ระดับยาในเลือดต่ำมากและมีอาการข้างเคียงน้อยที่สุด
 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้