หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ความสัมพันธ์ของน้ำหนักและความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจที่ลดลงกับชนิดของอาหาร

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน มีนาคม ปี 2548 -- อ่านแล้ว 1,988 ครั้ง
 
การควบคุมอาหารยังคงเป็นปัจจัยแรกที่สำคัญในบุคคลที่ต้องการลดน้ำหนัก แต่การรับประทานอาหารประเภทใดที่มีผลต่อการลดน้ำหนักและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้มากที่สุดยังคงไม่มีคำตอบที่แน่ชัด ด้วยเหตุนี้จึงมีนักวิจัยทำการศึกษาถึงอิทธิผลของอาหารต่อผลดังกล่าว โดยการศึกษาเป็นแบบ Randomized ซึ่งแบ่งผู้เข้าร่วมวิจัยออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 40 คน โดยในกลุ่มแรกได้รับสูตรอาหาร Atkins ซึ่งเป็นสูตรอาหารที่จำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรต กลุ่มที่ 2 ได้รับสูตรอาหาร Zone ซึ่งเป็นสูตรอาหารที่ควบคุมความสมดุลของ macronutrient และ glycemic load กลุ่มที่ 3 ได้รับสูตรอาหาร Weight watchers ซึ่งเป็นสูตรอาหารที่จำกัดปริมาณแคลอรี และกลุ่มสุดท้ายได้รับสูตรอาหาร Ornish ซึ่งเป็นสูตรอาหารที่จำกัดปริมาณไขมัน ติดตามผลเป็นระยะเวลานาน 1 ปี จากผลการวิจัยพบว่าผู้เข้าร่วมการทดลองทั้ง 4 กลุ่มมีน้ำหนักตัวลดลง 2.1-3.3 กิโลกรัมแต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มทดลอง ส่วนผลต่อการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ พบว่าผู้เข้าร่วมการทดลองมีระดับ LDL cholesterol ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติยกเว้นผู้เข้าร่วมการทดลองที่ได้รับสูตรอาหาร Atkins ส่วนระดับ HDL cholesterol พบว่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกกลุ่มการทดลองยกเว้นผู้เข้าร่วมการทดลองที่ได้รับสูตรอาหารOrnish สำหรับผลต่อความดันโลหิต ระดับไตรกลีเซอไรด์ และระดับน้ำตาลในเลือด ไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกกลุ่ม อย่างไรก็ในการวิจัยนี้พบว่ามีผู้เข้าร่วมการทดลองจำนวนมากที่ไม่สามารถรับประทานสูตรอาหารดังกล่าวอย่างต่อเนื่องตลอดการทดลองครบ 1 ปี
 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้