ศิษย์เก่ารำลึก

บอกเล่าประสบการณ์ผ่านประสบการณ์ตรงของศิษย์เก่าเภสัชมหิดล
   

โดย ภญ.ธนูทิพย์ กรรณสูต - ศิษย์เก่าเภสัชมหิดลรุ่นที่ 11

1357  Views  

จำได้ว่าปอง (รศ.ดร.ภญ.จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์) ชวนไปพบท่านที่ห้อง ท่านต้อนรับลูกศิษย์อย่างเป็นกันเองเหมือนคนในครอบครัว และบอกว่าประตูห้องเปิดเสมอ ฟังวิสัยทัศน์ท่านแล้ว เป็นหลักการที่เกินกว่าเภสัชฯ หากเป็นหลักที่มั่นคงของระบบสุขภาพของชาติเราในอนาคต ทั้งบัญชียาหลัก ทั้งสมุนไพร และการเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดภัยต่อชาติ ตอนนั้นคิดว่าท่านเหมาะสมกับการเป็นข้าราชการที่สุดที่นำความรู้ ความสามารถมาปรับใช้ให้กับประเทศตรงกับปณิธานของ ร.๕ เมื่อทำงานแล้วได้หวนคิดและเพิ่งเห็นความยากลำบากของท่านที่จัดให้พวกเราได้ฝึกงานได้หลายที่ทุกปิดเทอม เท่าที่เราอยากฝึก รวมถึงไป round ward (ฝรั่งเรียก ward rounds) เพิ่งรู้ถึงความยากลำบาก แต่ทำให้ลูกศิษย์สบาย เป็นการเปิดโอกาสให้ลองผิดลองถูกก่อนทำงานจริง ซึ่งที่อื่นไม่มีหรือมีไม่เท่าเรากับโอกาสดีเลิศแบบนี้ ผู้เป็นครูด้วยใจและมีความคิดกว้างไกลและลึกซึ้งเท่านั้น ที่จะอุทิศกายใจทำเพื่อลูกศิษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่า.. และที่ไม่ลืมคือ ประโยคทองประโยคเดียวที่ทำให้ ลูกศิษย์คนนี้มุ่งทำงาน R&D ที่ใจรัก เลือกบริษัทที่มีหน่วยงาน R&D โดยไม่จำกัดว่า เป็นผลิตภัณฑ์ยาเท่านั้น From here we can go everywhere. จริงๆจะมีใครเล่าที่เปิดโลกทัศน์ หล่อหลอมความคิดให้กล้ายืนหยัดในสิ่งที่ตั้งมั่น อบรมสั่งสอนให้มีความรู้เป็นเครื่องมือสำหรับวิชาชีพและทำงานด้วยความบากบั่นไม่ย่อท้อ ตั้งหลักตั้งฐานได้... ขอน้อมเคารพครูผู้ให้อย่างสูง แด่อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร

ภญ.ธนูทิพย์ กรรณสูต 

บทความอื่นๆ จากศิษย์เก่า

อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร..รุ่นพี่..อาจารย์..ผู้บังคับบัญชานักศึกษารุ่น 1 (ปี 2511) เรียนปีหนึ่ง ปีสอง ที่ตึกจานบินคณะวิทยาศาสตร์ เรามีรุ่นพี่ ดูแล พูดคุย ทำกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อขึ้นปีสามพวกเราต้องข้ามมา...

รศ. ดร. ภญ.พิสมัย กุลกาญจนาธร ศิษย์รุ่น 1 รุ่นที่ 1

อา                    รอนวอนเทวษไหว้           &nb...

เภสัชกร อนุทัศน์ หงส์ประภัศร รุ่นที่ 12

อาจารย์ประดิษฐ์ ท่านเป็นคณบดีที่ให้มีนโยบายการสอบซ่อมเป็นครั้งแรก เพื่อไม่ให้ต้องเรียนซ้ำชั้นปี ตอนนั้นผมเพิ่งข้ามไปเรียนคณะเภสัช ตอนปี 3 และผมเป็น นศ.รุ่นแรกที่ได้เข้าสอบซ่อม ซึ่งท่านสร้างคุณูปก...

พิชัย อัศวศักดิ์สกุล รุ่นที่ 7

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา