คำไว้อาลัย

จากหนังสือพระราชทานเพลิงศพ "ครูประดิษฐ์"
   

โดย มัณฑนา ภาณุมาภรณ์ ลูกศิษย์ และอาจารย์ภาควิชาเภสัชกรรม

716  Views  

ด้วยความเคารพอย่างสูง

 

เรื่องสั้นเล่าสู่กันฟังด้วยตัวอักษร ในฐานะลูกศิษย์และผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อรำลึกถึงอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร คณบดีคนแรกของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยความเคารพอย่างสูง เป็นเหตุการณ์จริงในอดีต

กลุ่มลูกศิษย์ 8 คน พ.ศ. 2505

ลูกศิษย์ “อาจารย์คะ เลี้ยงขนมหน่อย”

อาจารย์ยิ้ม ล้วงมือลงไปในกระเป๋ากางเกง หยิบเงินขึ้นมา 1 สลึง

อาจารย์ประดิษฐ์ “เอ้า เอาไปซื้อเม็ดแมงลักกินกัน” 

ไม่น่าเชื่อว่า ต่อมา เม็ดแมงลักจะกลายเป็นตำนานหนึ่งของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ศาสตราจารย์ ดร.ฉวี บุนนาค พ.ศ. 2514

อาจารย์ฉวี “คุณดิษฐ์ต้องการให้อาจารย์สมัครใจโอนย้ายไปอยู่คณะเภสัชศาสตร์พญาไท เอง เพราะคุณดิษฐ์ทราบดีว่าสวัสดิการคงสู้ทางคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ไม่ได้”

ดิฉันเป็นผู้หนึ่งที่เต็มใจโอนย้ายไปสังกัดคณะเภสัชศาสตร์พญาไท มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนาม เปลี่ยนเป็น มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร พ.ศ. 2515 

อาจารย์ประดิษฐ์ “ผมได้สิทธิเลือกก่อนคณะทันตแพทย์ ว่า จะย้ายคณะฯ ไปอยู่ที่ถนนโยธีหรือจะเลือกอยู่ที่คณะวิทยาศาสตร์เดิม บนถนนพญาไท ซึ่งมีตึกเก่า ร้าง ผมเลือกสถานที่หลัง เพราะทำเลติดถนนใหญ่ เหมาะแก่การเปิดร้านยา model ของคณะฯ ซึ่งต่อไปอาชีพเภสัชกรรมชุมชนจะเป็นอาชีพหลักอาชีพหนึ่งของเภสัชกร จำเป็นที่นักศึกษาจะต้องมีแหล่งฝึกที่เป็นแบบอย่าง”                                               

ด้วยวิสัยทัศน์ของอาจารย์ประดิษฐ์ ร้านยาของคณะจึงได้ถือกำเนิด ในปี พ.ศ. 2523

 

อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร  พ.ศ. 2523

คณบดีประดิษฐ์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน และได้มอบหมายให้อาจารย์มัณฑนา ภาณุมาภรณ์ เป็นผู้จัดการร้านยา autonomous แห่งนี้ของคณะ มีคณบดีเป็นผู้ประกอบการ  ยาในตู้ยาได้มาจากระบบ consignment แรก ๆ เปิดร้านยา มีลูกค้าน้อย เพราะคนไม่รู้จัก ต่อมาได้รับความช่วยเหลือจากนักศึกษาปีที่ 5 ช่วยทำประชาสัมพันธ์ให้

อาจารย์ประดิษฐ์  (พูดกับดิฉันซึ่งเป็นผู้จัดการร้านยาและอาจารย์ฝ่ายวิชาการของร้านยา) “ไม่ต้องกังวลและเครียดเรื่องลูกค้า ถ้าไม่มี เราก็ผลัดกันไปเล่นเป็นลูกค้า”                                                           

ด้วยภาวะผู้นำของอาจารย์ ทำให้พวกเรามีกำลังใจ การดำเนินการของร้านยาจึงบรรลุเป้าหมายภายใน 6 เดือน

 

อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร ณ สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน เช้าวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2528

อาจารย์ประดิษฐ์ “แต่งดำทำไม”

ผู้จัดการ “ไว้ทุกข์ให้คุณพ่อสามีค่ะ”

อาจารย์ประดิษฐ์ “อายุเท่าไหร่”

ผู้จัดการ “ 75 ปี ค่ะ”

อาจารย์ประดิษฐ์ “ผมไม่รู้ว่าจะอยู่ถึง 75 มั๊ย”

แล้วอาจารย์ก็จากไปประชุมที่กระทรวงสาธารณสุข และไม่ได้กลับมาที่ร้านยาคณะฯ อีกเลย ร้านยาคณะฯ ที่เป็น ร้านยา model แห่งแรกของคณะเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย ที่คณะเภสัชศาสตร์อื่นที่มีแผนจะเปิดร้านยาคณะมาขอดูงาน ร้านยาที่อาจารย์ประดิษฐ์รักและคอยแวะมาเยี่ยมทุกวันไม่เคยขาด ตั้งแต่เปิดร้านยาวันแรก จนกระทั่งวันสุดท้ายของชีวิต 

บทความอื่นๆ จากศิษย์เก่า

“อาจารย์ขา..สวัสดีค่ะ” นี่คือ คำพูดติดปากของ*น้าหลา* พร้อมกับยกสองมือขึ้นประนมไหว้อย่างสวยงาม ทุกครั้งที่เดินสวนกับ อาจารย์ทุกท่านในคณะเภสัชตั้งแต่ปี3-5 คณะเภสัชของเราในสมัยน้าหลาเป็นคณะเล็ก ๆ มีอาจาร...

นภาพร อัชชนียะสกุล รุ่นที่ 9

อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร..รุ่นพี่..อาจารย์..ผู้บังคับบัญชานักศึกษารุ่น 1 (ปี 2511) เรียนปีหนึ่ง ปีสอง ที่ตึกจานบินคณะวิทยาศาสตร์ เรามีรุ่นพี่ ดูแล พูดคุย ทำกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อขึ้นปีสามพวกเราต้องข้ามมา...

รศ. ดร. ภญ.พิสมัย กุลกาญจนาธร ศิษย์รุ่น 1 รุ่นที่ 1

ย้อนกลับไปในช่วงที่นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 13 ข้ามฟากมาเรียนต่อปีที่ 3 ถึงปีที่ 5 ที่คณะเภสัชศาสตร์โดยตรง เราโชคดีที่ได้มีโอกาสเรียนวิชา Pharmacy Orientatio...

ภก. พรชัย ศรีศุภวินิจ เขียนในนามศิษย์รุ่น 13 รุ่นที่ 13

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา