หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Uric acid มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคหัวใจหรือไม่ ก่อให้เกิดโรคใดได้บ้าง ?

ถามโดย วิทวัส เผยแพร่ตั้งแต่ 25/12/2012-11:02:09 -- 5,248 views
 

คำตอบ

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจที่ปัจจุบันมีหลักฐานแน่ชัดได้แก่ อายุ (age) การสูบบุหรี่ (smoking) มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง (high blood pressure) คลอเรสเตอรอลในเลือดสูง (high blood cholesterol) โรคเบาหวาน (diabetes) อ้วน (obesity) และไม่ออกกำลังกาย (physical inactivity) ส่วนปัจจัยอื่นๆ ยังไม่เป็นที่สรุปแน่ชัด สำหรับกรดยูริค (uric acid) เป็นสารที่เกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายตามปกติอยู่แล้ว แต่อาจมีระดับเพิ่มสูงขึ้นเมื่อรับประทานอาหารบางชนิด เช่น แอลกอฮอล์ ตับ สัตว์ปีกและถั่วต่างๆ เป็นต้น ซึ่งโดยปกติร่างกายจะกำจัดออกกับปัสสาวะ แต่หากได้รับกรดยูริคมากเกินไปหรือมีปัจจัยบางประการทำให้ร่างกายขับกรดยูริกได้ลดน้อยลง จะทำให้เกิดการตกตะกอนขึ้นที่บริเวณต่างๆของร่างกายได้ แต่ที่พบบ่อย ได้แก่ ที่ท่อของไต กลายเป็นโรคนิ่วที่ไตได้ หรืออาจเกิดการสะสมของผลึกยูริค (monosodium urate) ที่บริเวณข้อต่อต่างๆของร่างกายกลายเป็นโรคเก๊าท์ (gouty arthritis) ได้ แต่จากงานวิจัยทางคลินิกพบว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะระดับกรดยูริคในเลือดสูง ไม่จำเป็นจะต้องเป็นโรคเก๊าท์ทุกคน โดยพบว่าประมาณร้อยละ 30 ของคนที่มีระดับกรดยูริคในเลือดสูงที่จะพัฒนากลายเป็นโรคเก๊าท์

Reference:
1 Risk factor for Coronary heart disease in ACC/AHA 2010 guidelines
2. Mary Anne Koda-Kimble. Applied Therapeutic : Clinical Drug Use. Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins, 2009

Keywords:
-





หัวใจและหลอดเลือด

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้