ป้องกัน bypass vein graft failure ระดับ gene expression
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 3 เดือน มีนาคม ปี 2547 -- อ่านแล้ว 4,115 ครั้ง
การทำ bypass vein graft พบบ่อยในการผ่าตัดเปลี่ยนหลอดเลือดใหม่ (surgical revascularization) วึ่งมีอัตราการล้มเหลวในระยะยาวร้อยละ 30 ถึง 50 ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงที่จะพิการหรือเสียชีวิต
ภายหลังการผ่าตัด bypass vein graft มักเกิด neointimal hyperplasia ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ภาวะ neointimal hyperplasia นี้เกิดจากการที่หลอดเลือดมี injuires ไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็ตามแล้วมีการกระตุ้น medial vascular smooth muscle cell (VSMC) ให้เพิ่มจำนวนและเคลื่อนย้าย cell เข้าสู่ผนังหลอดเลือดชั้น intimal ส่งผลให้เพิ่มความหนาของผนังหลอดเลือดชั้นดังกล่าวมากขึ้นจนเกิดเป็นโรคท่อหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดแดงอุดตัน (atherosclerosis) หรือเกิดความล้มเหลวในการรักษาในที่สุด
การป้องกัน vein graft failure ในปัจจุบันนอกเหนือจากการใช้ยาเพื่อชะลอการเกิดความล้มเหลวในการรักษา เช่น antiplatelets และ lipid lowering agent เป็นต้นยังมีการศึกษาลึกลงไปในระดับ gene โดยการใช้ gene therapy ในการป้องกันดังกล่าวซึ่งได้แก่
การทำ gene transfer เป็นการนำ gene ที่ควบคุมการแสดงออกของโรคใส่เข้าไปใน target cell โดยผ่าน DNA carrier เช่น plasmid vector ที่ได้จากเชื้อแบคทีเรีย ปัจจุบันได้มีการพัฒนาการใช้ DNA carrier ตัวใหม่ ๆ ได้แก่ recombinant viral vector ที่ได้จากไวรัสโดยเฉพาะอย่างยิ่ง nonpathogenic adeno-associated virus หรือจาก lentiviruses
การยับยั้งการแสดงออกของ gene โดยยับยั้งกระบวนการ translation ของ messenger RNA (mRNA) ที่มาจาก target gene ด้วย antisense oligonucleotide (ODN) และยับยั้งการทำงานของ transcription factor (TF) โดยใช้ decoy ODN นอกจากนี้ยังสามารถยับยั้งด้วยวิธีอื่น ๆ เช่นการใช้ ribozyme ซึ่งเป็นส่วนของ RNA ที่มีฤทธิ์คล้าย enzyme ทำลายเฉพาะ target mRNA เท่านั้น
E2F เป็น TF ที่อาจเกี่ยวข้องในการเพิ่มจำนวนของ VSMC ในระยะ G1 ของ cell cycle จึงมีการพัฒนา E2F decoy ODN สำหรับการป้องกัน vein graft failure ซึ่งมีผลการศึกษาในสัตว์เป็นที่น่าพอใจและกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาการใช้ในมนุษย์