หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การรักษาด้วย Oral anticoagulant และ Antiplatelet ใน Peripheral Arterial Disease

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน สิงหาคม ปี 2550 -- อ่านแล้ว 4,589 ครั้ง
 
การเกิดหลอดเลือดแดงแข็งในหลอดเลือดแดงส่วนปลายมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของปัจจัยเสี่ยงในการเกิด MI, stroke, และการเสียชีวิตที่มีสาเหตุมาจากหัวใจและหลอดเลือด ยาที่มีผลยับยั้งการรวมตัวกันของเกล็ดเลือดสามารถลดปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้ แต่บทบาทของ anticoagulant ในการป้องกันผลแทรกซ้อนต่อหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วย peripheral arterial disease นั้นยังไม่ชัดเจน

จากการศึกษา ในผู้ป่วย peripheral arterial disease โดยทำการเปรียบเทียบการรักษาระหว่างการใช้ antiplatelet ร่วมกับ anticoagulant และการใช้ antiplatelet อย่างเดียว โดย primary outcome คือ การเกิด MI, Stroke หรือ การการเสียชีวิตที่มีสาเหตุมาจากหัวใจและหลอดเลือด จากการสุ่มผู้ป่วยจำนวน 2161 คน แล้วติดตามไปเป็นระยะเวลาเฉลี่ย 35 เดือน พบว่า ผู้ป่วยเกิด MI, Stroke หรือ การการเสียชีวิตที่มีสาเหตุมาจากหัวใจและหลอดเลือดจำนวน 132 คนจากผู้ป่วย 1080 คนที่ได้รับ antiplatelet ร่วมกับ anticoagulant (ร้อยละ 12.2) และพบ 144 คนจากผู้ป่วย 1081 คนที่ได้รับ antiplatelet อย่างเดียว (ร้อยละ 13.3) โดยมีค่า relative risk เท่ากับ 0.92 ; 95% CI เท่ากับ 0.74-1.12 ; P=0.48 และ พบการเกิดเลือดออกที่มีอันตรายถึงชีวิตจำนวน 43 คนในกลุ่มที่ได้รับ antiplatelet ร่วมกับ anticoagulant(ร้อยละ 4) และพบ 13 คนในกลุ่มที่

ได้รับ antiplatelet อย่างเดียว (ร้อยละ 1.2) โดยมีค่า relative risk เท่ากับ 3.14 95% CI เท่ากับ 1.84-6.35 ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการเกิดเลือดออกที่ค่า P<0.001



โดยสรุปจากการศึกษาในผู้ป่วย peripheral arterial disease การใช้ antiplatelet ร่วมกับ oral anticoagulant ไม่ได้มีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ antiplatelet อย่างเดียวในการป้องกันผลแทรกซ้อนต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด และยังมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.4 ยาอันตรายควบคุม (Controlled dangerous drugs)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้