หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Zinc ช่วยลดการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบในกระต่าย

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 3 เดือน พฤษภาคม ปี 2549 -- อ่านแล้ว 2,125 ครั้ง
 
ในบริเวณที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบนั้นมักพบว่ามี iron อยู่มาก และเคยมีรายงานว่า zinc อาจมีคุณสมบัติเป็น antioxidant จึงมีการศึกษาผลของ zinc ต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบในกระต่ายสายพันธุ์ New Zealand เพศผู้จำนวน 18 ตัว แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มๆละ 6 ตัว คือ กลุ่มที่ 1 ป้อนอาหารปกติ กลุ่มที่ 2 ป้อนอาหารที่มี cholesterol สูง และกลุ่มที่ 3 ป้อนอาหารที่มี cholesterol สูงควบคู่ไปกับ zinc เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า ในกลุ่มที่เสริม zinc จะมีระดับ zinc ในเลือดสูงกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และกลุ่มที่ป้อน cholesterol สูงจะมีระดับ cholesterol สูงกว่ากลุ่มอื่นเช่นกัน ในกลุ่มที่เสริม zinc จะมีระดับ cholesterol, triglyceride และ LDL ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) กับกลุ่มที่ป้อน cholesterol สูงเพียงอย่างเดียว แต่พบว่ามีระดับ HDL ต่ำกว่ากลุ่มที่ป้อน cholesterol สูงเพียงอย่างเดียว (p=0.0013) นอกจากนี้บริเวณรอยโรคของการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบในกลุ่มที่เสริม zinc ยังน้อยกว่ากลุ่มที่ป้อน cholesterol สูงเพียงอย่างเดียว (1.0 และ 3.1 mm2 ตามลำดับ ) เมื่อพิจารณาความเข้มข้นของ zinc บริเวณที่เกิดหลอดเลือดหัวใจตีบพบว่ามีความเข้มข้นเทียบเท่ากับกลุ่มที่ป้อนอาหารปกติคือ 24 ppm ในขณะที่ความเข้มข้นของ iron ในกลุ่มที่เสริม zinc น้อยกว่ากลุ่มที่ป้อน cholesterol สูงเพียงอย่างเดียว (32 และ 43 ppm ตามลำดับ)

Zinc อาจมีผลเป็น antiatherogenic ที่ช่วยลด iron บริเวณที่หลอดเลือดหัวใจตีบในกระต่าย ทำให้ช่วยยับยั้งไม่ให้เกิด free readical จาก iron

 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.4 ยาอันตรายควบคุม (Controlled dangerous drugs)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้