หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การใช้ celexocib เปรียบเทียบกับการใช้ lansoprazole ร่วมกับ naproxen ในการป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน ธันวาคม ปี 2548 -- อ่านแล้ว 4,980 ครั้ง
 
ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร การใช้ selective COX-2 inhibitors จะเสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะน้อยกว่า conventional NSAIDs และการใช้ proton pump inhibitors ร่วมกับ non-selective NSAIDs ก็ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้น้อยในในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงได้เช่นกัน จึงมีการเปรียบเทียบการรับประทาน COX-2 inhibitors กับการรับประทาน proton pump inhibitors ร่วมกับ NSAIDs ต่อการกลับเป็นซ้ำของแผลในกระเพาะของผู้ป่วยที่มีประวัติเคยเป็นแผลในกระเพาะอาหารจากการใช้ NSAIDs

การศึกษาแบบ prospective, open-labelled, randomized, controlled trial ในผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีเลือดออกในกระเพาะอาหารส่วนบนจากการใช้ NSAIDs จำนวน 242 คน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 1999 ถึง พฤษภาคม 2003 ผู้ป่วยที่ได้รับเลือกเข้าการศึกษานี้ต้องผ่านการทดสอบแล้วว่าไม่มีการติดเชื้อ H. pylori และแผลในกระเพาะอาหารหายดีแล้ว ผู้ป่วยเหล่านี้จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รับประทาน celecoxib ขนาด 200 มิลลิกรัมวันละ 1 ครั้งจำนวน 120 คน (กลุ่ม celecoxib) และกลุ่มที่รับประทาน naproxen ขนาด 250 มิลลิกรัมวันละ 1 ครั้งร่วมกับรับประทาน lansoprazole ขนาด 30 มิลลิกรัมวันละ 1 ครั้งจำนวน 122 คน (กลุ่ม lansoprazole) ระยะเวลารับประทานยาคือ 28 สัปดาห์ แต่มีการติดตามผลผู้ป่วยทุกสัปดาห์ หากผู้ป่วยมีอาการอาหารไม่ย่อย สามารถรับประทาน antacid เพื่อบรรเทาอาการนี้ได้ การประเมินผลเป็นแบบ intention-to-treat ตัวแปรหลักคือ การกลับเป็นซ้ำของแผลในทางเดินอาหารส่วนบน ส่วนตัวแปรอื่นที่ตรวจวัดคือ อาการข้างเคียง ความร่วมมือในการรับประทานยา รวมทั้งประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดของโรค เมื่อสิ้นสุดการศึกษา พบว่า การกลับเป็นซ้ำของแผลในทางเดินอาหารส่วนบนในช่วง 24 สัปดาห์ของการให้ยากลุ่ม celecoxib และกลุ่ม lansoprazole คือร้อยละ 3.7 และ 6.3 ตามลำดับ ซึ่งเมื่อคำนวณทางสถิติ พบว่า celecoxib มิได้เหนือกว่าการให้ naproxen ร่วมกับ pantoprazole ในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของแผลในทางเดินอาหาร ทั้งยังพบว่าผู้ป่วยอายุ 65 ปีขึ้นไปและการมีโรคอื่นร่วมด้วย จะทำให้เกิดการกลับเป็นซ้ำของแผลในทางเดินอาหารส่วนบนได้มากขึ้น สำหรับการประเมินอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดในทางเดินอาหารส่วนล่างพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในทั้ง 2 กลุ่ม ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 75) ให้ความร่วมมือในการใช้ยาเป็นอย่างดี และประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดของโรคในทั้ง 2 กลุ่มก็ไม่ต่างกันด้วย แต่กลุ่ม celecoxib จะเกิดอาการอาหารไม่ย่อยมากกว่ากลุ่ม lansoprazole (ร้อยละ 15 และ 5.7 ตามลำดับ)

ดังนั้นการใช้ celexocib หรือใช้ lansoprazole ร่วมกับ naproxen จะให้มีประสิทธิผลเท่าเทียมกันในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากแผลที่ทางเดินอาหาร

 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.1 ยาคุมฉุกเฉิน Emergency contraceptive pills

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้