Spironolactone ต่อภาวะ resistant hypertension
ข่าวประจำสัปดาห์ที่ เดือน N/A ปี -- อ่านแล้ว 3,615 ครั้ง
มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า spironolactone มีประโยชน์ในการรักษา resistant hypertension (ความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยการใช้ยาควบคุมความดัน 3 กลุ่มร่วมกัน) ในผู้ป่วยเบาหวาน โดยข้อมูลดังกล่าวมาจากการศึกษาแบบ randomized control trial (RCT) ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 130/80 mmHg ที่รักษาด้วยยา antihypertension ตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไป การศึกษาดังกล่าวสุ่มผู้ป่วยเป็นสองกลุ่ม โดยผู้ป่วยจำนวน 61 รายได้รับยา spironolactone 25 mg และปรับเพิ่มขนาดยาตามความเหมาะสม และผู้ป่วยอีก 58 รายได้รับยาหลอก ซึ่งผู้ป่วยทั้งหมดมีประวัติได้รับยา diuretics, ผู้ป่วย 51% ได้รับยา hydrochlorothiazide, ผู้ป่วย 51% ได้รับยา ACE inhibitors, ผู้ป่วย 38% ได้รับยา ARBs, ผู้ป่วย 50% ได้รับยา beta-blockers, และผู้ป่วยจำนวน 84% ได้รับยา calcium-channel blockers
จากผลการศึกษาพบว่าหลังจากผู้ป่วยได้รับยาเป็นเวลา 4 เดือน ระดับความดันโลหิตในกลุ่มที่ได้รับยาหลอกไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเริ่มต้น แต่ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยา spironolactone มีระดับความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดย daytime blood pressure measured by 24-hour ลดลง 8.9/3.7 mmHg และผลการลดระดับความดันโลหิตเริ่มมีผลสูงสุดหลังผ่านไปเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ นอกจากนี้กลุ่มที่ได้รับยา spironolactone มีระดับ potassium เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 0.3 mmol/L, plasma creatinine เพิ่มขึ้น 6 mcmol/L และ urinary albumin excretion ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่ระดับ estimated glomerular filtration rate (eGFR) ไม่ได้แตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม จากผลการศึกษาดังกล่าวพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา spironolactone สามารถลดระดับความดันโลหิตแบบ resistant hypertension ได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่ต้องระวังคือ hyperkalemia