หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ปวดหัวไมเกรน…ใช้ยาเพื่ออะไร?

โดย นศภ.ภานุวัฒน์ ทองดี ภายใต้คำแนะนำของ ผศ.ดร.ภก.สุรศักดิ์ วิชัยโย เผยแพร่ตั้งแต่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2565 -- 21,049 views
 

ปวดหัวไมเกรนคืออะไร

ไมเกรน คือ โรคปวดหัวเรื้อรังชนิดหนึ่ง พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายมีลักษณะเด่นที่ต่างจากการปวดหัวทั่วไป คือ มักปวดหัวข้างเดียวหรือเริ่มปวดข้างเดียวแล้วลามไปทั้งสองข้าง มักรู้สึกปวดตุบ ๆ ตามจังหวะชีพจรระยะเวลาปวดมักนานหลายชั่วโมง อีกทั้งอาการแต่ละครั้งค่อนข้างรุนแรง[1] แม้ขณะทำกิจกรรมในชีวิต ประจำวันก็สามารถเกิดอาการปวดแทรกขึ้นมาได้ ผู้ป่วยมักมีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วย นอกจากนี้บางรายอาจมีอาการเตือน (migraine with aura) เช่น มองเห็นแสงกระพริบ ๆ หรือสายตาพรามัว แต่บางรายก็ไม่มีอาการเตือนเหล่านี้ (migraine without aura) ทั้งนี้โรคปวดหัวไมเกรนจัดเป็นปัญหาที่ส่งผลรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คนมากมายในปัจจุบัน[2]

ไมเกรนเกิดขึ้นได้อย่างไร

แม้จะยังไม่ทราบแน่ชัด เเต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการขยายตัวของหลอดเลือดสมอง[1,2] (cranial vasodilation) หรืออาจเกิดจากความผิดปกติที่ระดับสารเคมีในสมอง ปัจจุบันเชื่อว่าไมเกรนถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ทั้งนี้ปัจจัยกระตุ้นที่อาจทำให้เกิดไมเกรนมีหลายอย่าง เช่น ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อากาศที่เปลี่ยนแปลง กลิ่นบางชนิด แสงจ้า เป็นต้น[3,4]

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นไมเกรน

ยาที่ใช้มี 2 กลุ่มหลัก คือ ยาที่ใช้เฉพาะเวลาปวดหัวและยาสำหรับป้องกันอาการปวดหัว

1. ยาที่ใช้เฉพาะเวลาปวดหัว (drugs for abortive treatment)[1,2,3,6]

เป็นยาที่รับประทานเมื่อมีอาการปวดหัวเกิดขึ้นแล้วสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ค่อนข้างเร็ว โดยอาจแบ่งยากลุ่มนี้ได้เป็น 2 กลุ่มย่อย คือ ยาสำหรับอาการปวดไม่รุนแรง และยาสำหรับอาการปวดปานกลางถึงรุนแรง ทั้งนี้รายละเอียดในการใช้ยาแต่ละประเภทแสดงในตารางที่ 1 เป็นยาที่รับประทานเมื่อมีอาการปวดหัวเกิดขึ้นแล้ว สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ค่อนข้างเร็ว โดยอาจแบ่งยากลุ่มนี้ได้เป็น 2 กลุ่มย่อย คือ ยาสำหรับอาการปวดไม่รุนแรง และยาสำหรับอาการปวดปานกลางถึงรุนแรง ทั้งนี้รายละเอียดในการใช้ยาแต่ละประเภทแสดงในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ข้อพึงรู้ของยาที่ใช้เฉพาะเวลาปวดหัวไมเกรน (drugs for abortive treatment)

ชื่อยา

ข้อพึงรู้ในการใช้ยา

ยาสำหรับอาการไม่รุนแรง

พาราเซตามอล (paracetamol)[7]

- เป็นยาสามัญประจำบ้านที่ใช้บรรเทาปวดทั่วไปรวมถึงไมเกรน เมื่อมีอาการไม่รุนแรงอย่างไรก็ตามไม่ควรกินยาต่อเนื่องเกิน 5 วัน ระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคตับ[8]

- ไม่ควรรับประทานเกิน 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน

ยากลุ่มเอ็นเสด (non-steroidal anti-inflammatory drugs, NSAIDs)[1,2,9-11]

- ใช้มากในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวด บวม หรืออักเสบรวมทั้งปวดหัวไมเกรน

- มียาหลายชนิด แต่ละชนิดมีกลไกการออกฤทธิ์คล้ายกัน การเลือกยา เพื่อบรรเทาอาการปวดหัวจากไมเกรนจะเน้นเลือกที่ออกฤทธิ์ได้เร็ว เช่น ไอบูพรอเฟน (Ibuprofen)[9] นาพรอกเซน โซเดียม (naproxen sodium)[10] และไดโคลฟีแนค โพแทสเซียม (diclofenac potassium)[11]

- ระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคไต ผู้ที่มีแผลในทางเดินอาหาร

ยาสำหรับอาการปานกลางถึงรุนแรง

เออโกทามีน (ergotamine)[1,3,12]

- เป็นยาที่ให้ผลดีในการบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนเนื่องจากออกฤทธิ์ลดการขยายตัวของหลอดเลือดที่สมองโดยตรง

- เนื่องจากยาสามารถทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายหดตัวได้ จึงอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดเลือดตามปลายมือปลายเท้า อาจเป็นสาเหตุให้เกิดเนื้อตายได้

- ห้ามใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี สตรีตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ผู้ป่วยโรคตับ/ไตบกพร่องรุนแรง

- สําหรับผลิตภัณฑ์ที่มีในประเทศไทยมักผสมเออโกทามีน 1 มิลลิกรัม กับคาเฟอีน (caffeine) 100 มิลลิกรัม โดยคาเฟอีนจะช่วยเสริมฤทธิ์แก้ปวด

- ไม่ควรใช้เพื่อควบคุมอาการโดยรับประทานติดต่อกันทุกวัน เพราะเมื่อหยุดยาจะทำให้หลอดเลือดตอบสนองต่อยาลดลง ทำให้อาการปวดรุนแรงกว่าเดิม (rebound headache)

- อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตสูง ชาตามมือตามเท้า

- สามารถตีกับยาอื่นหลายชนิดซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายรุนแรงได้

ยากลุ่มทริปแทน[1,13,14]

- เป็นยาที่ให้ผลดีในการบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนเนื่องจากออกฤทธิ์ลดการขยายตัวของหลอดเลือดที่สมองโดยตรง

- ออกฤทธิ์ได้จำเพาะเจาะจงกว่าเออโกทามีนจึงมีผลทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์น้อยกว่า

- ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

- ซูมาทริปแทน (sumatriptan) และ อีลิทริปแทน (eletriptan) เป็นยากลุ่มนี้ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

- หลีกเลี่ยงการใช้ในผู้ที่มีประวัติแพ้ยากลุ่มซัลโฟนาไมด์แบบรุนแรง

- อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ใจสั่น แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน

2. ยาสำหรับป้องกันอาการปวดหัว (drugs for prophylactic treatment)[1,2,4]

เป็นยาที่ใช้เพื่อป้องกันในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัวรุนแรงหรือเป็นบ่อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือมากกว่า 2-3 ครั้งต่อเดือน ยากลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ในผู้ป่วยทุกคน โดยผู้ป่วยอาจต้องใช้ยาเหล่านี้เป็นเวลานานภายใต้การดูแลของแพทย์จึงจะสามารถช่วยลดความถี่และความรุนแรงได้ ทั้งนี้ยาที่มีข้อมูลว่าสามารถใช้ เพื่อป้องกัน อาการปวดหัวได้แสดงในตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ข้อพึงรู้ของยาที่ใช้สำหรับป้องกันอาการปวดหัวไมเกรน (drugs for prophylactic treatment)

ชื่อยา

ข้อพึงรู้ในการใช้ยา

ยาลดความดันกลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ (beta-blockers)[1,15,16]

- ได้แก่ โพรพราโนลอล (propranolol) และเมโทโพรลอล (metoprolol)

- ผลข้างเคียงที่อาจพบ ได้แก่ ง่วง ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นช้า การนอนผิดปกติ ฝันร้าย ซึมเศร้า

- ห้ามใช้ในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่คุมอาการได้ไม่ดี

กลุ่มยาต้านซึมเศร้า[1,17]

- ยาที่แนะนำได้แก่ อะมิทริปไทลีน (amitriptyline)

- ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจ เนื่องจากทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ

- อาการข้างเคียงที่อาจพบ ได้แก่ ง่วง ปากคอแห้ง ท้องไส้ปั่นป่วน คลื่นไส้อาเจียน

ฟลูนาริซีน (flunarizine)[4,18]

- ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจ เนื่องจากทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ

- อาการข้างเคียงที่อาจพบ ได้แก่ ง่วง ปากคอแห้ง ท้องไส้ปั่นป่วน คลื่นไส้อาเจียน

กลุ่มยากันชัก[1,19,20]

- ได้แก่ วาลโปรเอท (valproate) และ โทพิราเมท (topiramate)

- ระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคตับ/ไต

- อาการข้างเคียงที่อาจพบ ได้แก่ ง่วง มึนงง เวียนหัว อ่อนเพลีย

กลุ่มยาต้านซีจีอาร์พี[1,4,21]

- ซีจีอาร์พี (CGRP) ย่อมาจาก calcitonin gene-related peptide ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดการปวดหัวไมเกรน ยาชื่ออิรินูแมบ (erenumab) มีฤทธิ์ต้าน CGRP จึงใช้ป้องกันการปวดหัวไมเกรนได้

- เป็นยาฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง

- อาการข้างเคียงที่อาจพบ ได้แก่ ท้องผูก ตะคริว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

เอกสารอ้างอิง

  1. ผศ.นพ. รังสรรค์ ชัยเสวิกุล. โรคไมเกรน. [เข้าถึงเมื่อ 8 พ.ค 2565] จาก https://www.ph.mahidol.ac.th/ upload/safety/105_1.pdf.
  2. ภญ. ปาจรีย์ ศรีอุทธา. ยาใหม่และยาปัจจุบันที่ใช้รักษาไมเกรนแบบเฉียบพลัน. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 8 พ.ค 2565] จาก https://cpe.pharmacy.cmu.ac.th/member/files_journal/1003-1-000-003-11-2563003-11-2563_281063บทความยาใหม่.pdf.
  3. ภก.ภูมสิิริวุฒิวงค์่. อาการปวดหัวไมเกรน. [เข้าถึงเมื่อ 8 พ.ค 2565] จาก https://ccpe.pharmacycouncil.org/ showfile.php?file=306.
  4. อรวรรณ ศิลปกิจ. อาการปวดหัว. [เข้าถึงเมื่อ 8 พ.ค 2565] จาก https://med.mahidol.ac.th/ramamental/ sites/default/files/public/pdf/Headache.PDF.
  5. The International Classification of Headache Disorders, 3rd edition, is published in Cephalalgia. 2018.
  6. The American Headache Society (AHS). The american headache society position statement on integrating new migraine treatments into clinical practice. 2019; 59:1-18.
  7. Acetaminophen. In: DRUGDEX® Evaluations. [Online]. 2022 May 10. Available from: MICROMEDEX® Healthcare Series; 2022. [cited 2022 May 10]
  8. ธนากร ศิริสมุทร. พิษวิทยาจากพาราเซตามอล. [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค 2565] จาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/ division/shtc/admin/knowledges_files/30_14_16hWWHr.pdf.
  9. Ibuprofen. In: DRUGDEX® Evaluations. [Online]. 2022 May 10. Available from: MICROMEDEX® Healthcare Series; 2022. [cited 2022 May 10]
  10. Naproxen sodium. In: DRUGDEX® Evaluations. [Online]. 2022 May 10. Available from: MICROMEDEX® Healthcare Series; 2022. [cited 2022 May 10]
  11. Diclofenac. In: DRUGDEX® Evaluations. [Online]. 2022 May 10. Available from: MICROMEDEX® Healthcare Series; 2022. [cited 2022 May 10]
  12. Ergotamine. In: DRUGDEX® Evaluations. [Online]. 2022 May 10. Available from: MICROMEDEX® Healthcare Series; 2022. [cited 2022 May 10]
  13. Sumatriptan. In: DRUGDEX® Evaluations. [Online]. 2022 May 10. Available from: MICROMEDEX® Healthcare Series; 2022. [cited 2022 May 18]
  14. Eletriptan. In: DRUGDEX® Evaluations. [Online]. 2022 May 10. Available from: MICROMEDEX® Healthcare Series; 2022. [cited 2022 May 18]
  15. Propanolol. In: DRUGDEX® Evaluations. [Online]. 2022 May 10. Available from: MICROMEDEX® Healthcare Series; 2022. [cited 2022 May 18]
  16. Metoprolol. In: DRUGDEX® Evaluations. [Online]. 2022 May 10. Available from: MICROMEDEX® Healthcare Series; 2022. [cited 2022 May 18]
  17. Amitriptyline. In: DRUGDEX® Evaluations. [Online]. 2022 May 10. Available from: MICROMEDEX® Healthcare Series; 2022. [cited 2022 May 18]
  18. Flunarizine. In: DRUGDEX® Evaluations. [Online]. 2022 May 10. Available from: MICROMEDEX® Healthcare Series; 2022. [cited 2022 May 18]
  19. Valproate. In: DRUGDEX® Evaluations. [Online]. 2022 May 10. Available from: MICROMEDEX® Healthcare Series; 2022. [cited 2022 May 18]
  20. Topiramate. In: DRUGDEX® Evaluations. [Online]. 2022 May 10. Available from: MICROMEDEX® Healthcare Series; 2022. [cited 2022 May 18]
  21. Erenumab. In: DRUGDEX® Evaluations. [Online]. 2022 May 10. Available from: MICROMEDEX® Healthcare Series; 2022. [cited 2022 May 18]


คำค้นที่เกี่ยวข้อง:
ปวดหัวไมเกรน ยารักษาโรคปวดหัวไมเกรน ยาที่ใช้เฉพาะเวลาปวดหัว
 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้