Loading…

การใช้ฟ้าทะลายโจรเพื่อรักษาโรคโควิด-19 ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ

การใช้ฟ้าทะลายโจรเพื่อรักษาโรคโควิด-19 ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ
เภสัชกรหญิง กฤติยา ไชยนอก สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
12,775 ครั้ง เมื่อ 4 นาทีที่แล้ว
2021-07-04

จากที่มีการเพิ่มเติมรายละเอียดของการใช้ฟ้าทะลายโจรเพื่อบรรเทาอาการของโรคหวัดและการใช้เพื่อรักษาโรคโควิด-19 ในประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2564 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 120 ง วันที่ 4 มิถุนายน 2564 หน้า 46 - 47) โดยมีรายละเอียดดังนี้(1-2)

ภาพจาก : https://media.nationthailand.com/uploads/images/contents/w1024/2021/04/u15czb2njguzwJa9Tfqa.jpg?x-image-process=style/md
ยาสารสกัดผงฟ้าทะลายโจร ที่มี andrographolide ไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 โดยน้ำหนัก (w/w) รูปแบบยา: ยาแคปซูล (Capsule) ยาเม็ด (Tablet)
บัญชี 1(1.1)*
เงื่อนไข
  1. ใช้สำหรับบรรเทาอาการของโรคหวัด (common cold) เช่น ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล มีไข้
  2. รับประทานในขนาดยาที่มีปริมาณ andrographolide 60 - 120 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งให้วันละ 3 ครั้ง
ยาสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร รูปแบบยา: ยาแคปซูล (Capsule) ยาเม็ด (Tablet)
ไม่ระบุบัญชี* (สั่งจ่ายโดยแพทย์เวชกรรม เนื่องจากโรคโควิด 19 ต้องได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์)
เงื่อนไข
  1. ใช้กับผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่มีความรุนแรงน้อย เพื่อลดการเกิดโรคที่รุนแรง
  2. เฉพาะผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่มีการควบคุมปริมาณ andrographolide
  3. รับประทานในขนาดยาที่มีปริมาณ andrographolide 180 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งให้วันละ 3 ครั้ง
  4. ใช้ได้โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
  5. มีการติดตามประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยหลังการใช้อย่างเป็นระบบ
ยาจากผงฟ้าทะลายโจร รูปแบบยา: ยาแคปซูล (Capsule) ยาเม็ด (Tablet) ไม่ระบุบัญชี*** (สั่งจ่ายโดยแพทย์เวชกรรม เนื่องจากโรคโควิด 19 ต้องได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์)
เงื่อนไข
  1. ใช้กับผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่มีความรุนแรงน้อย เพื่อลดการเกิดโรคที่รุนแรง
  2. เฉพาะผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่มีการควบคุมปริมาณ andrographolide
  3. รับประทานในขนาดยาที่มีปริมาณ andrographolide 180 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งให้วันละ 3 ครั้ง
  4. ใช้ได้โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
  5. มีการติดตามประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยหลังการใช้อย่างเป็นระบบ

*** รายการยาจากสมุนไพรที่เป็นเภสัชตำรับโรงพยาบาล (รพ.) ที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย หรือเป็นไปตามโครงการที่ได้รับอนุมัติโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร ประกอบด้วยบัญชีย่อย 3 บัญชี ได้แก่ บัญชี 1 บัญชี 2 และบัญชี 3(3)
บัญชี 1 หมายความว่า รายการยาที่ใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพ มีหลักฐานที่สนับสนุนการใช้ตามสรรพคุณ หรือข้อบ่งใช้ (indication) มีประสบการณ์การใช้ในประเทศไทยอย่างพอเพียง สามารถใช้ในสถานพยาบาล โดยแบ่งเป็น
  1. ไม่มีเงื่อนไขการใช้
  2. มีเงื่อนไขการใช้ เช่น คุณสมบัติของแพทย์ผู้สั่งใช้ ระดับสถานพยาบาล
บัญชี 2 หมายความว่า รายการยาที่ต้องใช้โดยแพทย์แผนไทย หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการของสถานพยาบาลนั้นๆ โดยใช้องค์ความรู้การแพทย์แผนไทย มีลักษณะดังนี้
  1. อาศัยการวินิจฉัยและพิจารณาสั่งใช้ยาโดยใช้องค์ความรู้การแพทย์แผนไทย
  2. เป็นยาที่ใช้ตามสรรพคุณการแพทย์แผนไทย
  3. มีหลักฐานสนับสนุนการใช้ตามสรรพคุณ หรือข้อบ่งใช้ที่ค่อนข้างจำกัด
  4. สถานพยาบาลต้องมีระบบกำกับประเมินและตรวจสอบการใช้ยา โดยต้องเก็บข้อมูลการใช้ยาเหล่านี้เพื่อตรวจสอบในอนาคต
บัญชี 3 หมายความว่า รายการยาสำหรับโครงการพิเศษของหน่วยงานของรัฐ มีองค์ประกอบต่อไปนี้
  1. มีหน่วยงานรับผิดชอบทั้งโครงการและงบประมาณ
  2. นำเสนอร่างโครงการเป็นลายลักษณ์อักษร
  3. ระบุรายละเอียดของโครงการ
  • มีวัตถุประสงค์
  • วิธีการดำเนินโครงการ
  • กำหนดระยะเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุดโครงการชัดเจน
  • มีการกำหนดวิธีใช้ยา
  • มีแนวทางการติดตามประเมินผลการใช้ยา เบื้องต้นจะเห็นว่า สารสกัดจากฟ้าทะลายโจรและผงฟ้าทะลายโจร ในขนาดและวิธีการใช้ที่ระบุตามประกาศฯ สามารถใช้เพื่อการรักษาโรคโควิด-19 ที่มีความรุนแรงน้อยในรายที่มีการติดเชื้อแล้วเพื่อลดการเกิดโรคที่รุนแรงได้ แต่ยังไม่มีการรายงานว่าสามารถใช้เพื่อการป้องกันโรคได้ จึงไม่ควรซื้อมากักตุน อย่างไรก็ตาม คาดว่าข้อมูลต่างๆ ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาและวิจัยอย่างเร่งด่วน ซึ่งยังคงต้องติดตามรายละเอียดอย่างใกล้ชิด หากมีความคืบหน้าเพิ่มเติม ทางสำนักงานข้อมูลสมุนไพรจะรีบนำมาแจ้งให้ทุกท่านทราบค่ะ
    ท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟ้าทะลายโจรกับโรคโควิด-19 ได้ตาม Link ใน
  • แหล่งอ้างอิง/ที่มา
    ด้านล่างค่ะ(4-5)

    บทความที่ถูกอ่านล่าสุด

    ยาเม็ดกับรูปแบบที่แตกต่าง 1 วินาทีที่แล้ว
    สมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน..กินด้วยกันดีมั้ย? 1 วินาทีที่แล้ว
    Midazolam (Dormicum) ภัยสังคมที่หญิงและชายควรรู้ 1 วินาทีที่แล้ว
    ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง...ใช้อย่างไร 2 วินาทีที่แล้ว
    ถั่งเช่า ช่วยเพิ่มสมรรถภาพ จริงหรือ? 3 วินาทีที่แล้ว
    ตัวจี๊ด พยาธิตัวอันตรายที่มากับความอร่อย 4 วินาทีที่แล้ว
    รอบรู้เรื่องธาตุกัมมันตรังสี 5 วินาทีที่แล้ว
    กลูตาไธโอน ตอนที่ 2 : ยาฉีด ยากิน และยาทา 7 วินาทีที่แล้ว
    ทุเรียน..ราชาแห่งผลไม้ 11 วินาทีที่แล้ว
    หยุดคิดสักนิด…ก่อนคิดฝ่าไฟแดง 12 วินาทีที่แล้ว

    อ่านบทความทั้งหมด

    เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
    คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

    ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

    ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
    ประดิษฐ์ หุตางกูร
    คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
    Copyright © 2021 - 2024
    งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล