Loading…

นอนไม่หลับ...อาจเกิดจากยา

นอนไม่หลับ...อาจเกิดจากยา
อาจารย์ ดร.ภก. สุรศักดิ์ วิชัยโย ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
30,239 ครั้ง เมื่อ 1 ช.ม.ที่แล้ว
2019-10-27

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการนอนหลับอย่างเพียงพอนั้น ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น อารมณ์แจ่มใส และพร้อมสำหรับการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในทุกๆวัน ซึ่งในวัยผู้ใหญ่โดยเฉลี่ยควรนอนหลับประมาณวันละ 7-8 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่พบกับปัญหานอนไม่หลับ ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การเดินทางข้ามทวีป (ที่เรียกว่า jet lag) หรือ เกิดจากความเครียด หรือโรคต่างๆ เป็นต้น ทำให้ตื่นเช้ามาด้วยอารมณ์หงุดหงิดและไม่มีสมาธิในการทำงาน นอกจากนี้ การนอนไม่หลับอาจเกิดจากยาซึ่งหลายคนอาจไม่ทราบ ในบทความนี้จึงได้นำเสนอตัวอย่างยาที่มีโอกาสทำให้นอนไม่หลับ เพื่อให้ผู้ป่วยได้สังเกตตัวเองขณะกำลังใช้ยาเหล่านี้
ยาอะไรบ้างที่อาจทำให้นอนไม่หลับ
เนื่องจากการนอนหลับถูกควบคุมด้วยสมอง เช่น สมองมีการหลั่งสารต่างๆ เพื่อทำให้รู้สึกง่วง เป็นต้น ดังนั้น ยาที่อาจทำให้นอนไม่หลับส่วนใหญ่จะต้องผ่านเข้าไปในสมองแล้วส่งผลรบกวนกระบวนการดังกล่าว เช่น ยามีฤทธิ์กระตุ้นสมองโดยเพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับการตื่นตัว หรือยาอาจลดการทำงานของสารสื่อประสาทที่ช่วยให้หลับ เป็นต้น ซึ่งมักเป็นยาที่ใช้รักษาโรคทางระบบประสาทและจิตเวท นอกจากนี้ ยากลุ่มอื่นๆ เช่น ยาแก้คัดจมูก หรือยาฆ่าเชื้อบางชนิด ก็อาจทำให้เกิดอาการนี้ได้เช่นกัน ดังแสดงในตาราง ซึ่งผู้ป่วยสามารถตรวจสอบชื่อยาเหล่านี้บนแผงยาหรือฉลากยาด้วยตัวเอง

ทำอย่างไรเมื่อสงสัยว่านอนไม่หลับจากยา
หากสงสัยว่ายาที่กำลังใช้อยู่เป็นสาเหตุให้นอนไม่หลับ ควรปรึกษาแพทย์ที่สั่งจ่ายยา หรือเภสัชกรจากโรงพยาบาลที่ได้รับยา หรือเภสัชกรประจำร้านยาใกล้บ้าน เพื่อช่วยประเมินว่าอาจเกิดจากยาจริงหรือไม่ ซึ่งหากพบว่าเกิดจากยา แพทย์อาจปฏิบัติดังนี้
  • ปรับลดขนาดยา
  • เปลี่ยนเวลารับประทานยา เช่น เปลี่ยนเป็นช่วงเช้า
  • เปลี่ยนเป็นยาชนิดอื่น
  • ให้ยาช่วยหลับ ในบางกรณี

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะพบว่ายาที่กำลังใช้เป็นยาที่อาจทำให้นอนไม่หลับก็ไม่ควรตื่นตระหนกหรือระแวง เพราะอาการนอนไม่หลับจากยาเหล่านี้ไม่ได้เกิดกับทุกคน และไม่ควรปรับเปลี่ยนยาด้วยตนเอง นอกจากนี้ ไม่ควรนำยาเหล่านี้มาใช้แก้ง่วง ซึ่งถือเป็นการใช้ยาในทางที่ผิดจนอาจได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต
แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Van Gastel A. Drug-Induced Insomnia and Excessive Sleepiness. Sleep Medicine Clinics. 2018;13(2):147-159.
  2. Wichniak A, Wierzbicka A, Wal?cka M, Jernajczyk W. Effects of Antidepressants on Sleep. Current Psychiatry Reports. 2017;19(9).
  3. Sangal R, Owens J, Allen A, Sutton V, Schuh K, Kelsey D. Effects of Atomoxetine and Methylphenidate on Sleep in Children With ADHD. Sleep. 2006;29(12):1573-1585.
  4. Foral P, Knezevich J, Dewan N, Malesker M. Medication-Induced Sleep Disturbances. The Consultant Pharmacist. 2011;26(6):414-425.
  5. Malangu N. Drugs Inducing Insomnia as an Adverse Effect [Internet]. Cdn.intechopen.com. 2012 [cited 6 October 2019]. Available from: http://cdn.intechopen.com/pdfs/32270/InTech-Drugs_inducing_insomnia_as_an_adverse_effect.pdf
  6. Eddy M, Walbroehl G. Insomnia [Internet]. Aafp.org. 2019 [cited 6 October 2019]. Available from:https://www.aafp.org/afp/1999/0401/p1911.html

บทความที่ถูกอ่านล่าสุด

ไมเกรน กับ แมกนีเซียม 1 วินาทีที่แล้ว
รู้ให้ชัดกับ ยาแก้อักเสบ 2 วินาทีที่แล้ว
ยาเม็ดคุมกำเนิด : ข้อควรระวังเมื่อใช้ร่วมกับยาอื่นที่รบกวนประสิทธิภาพและความปลอดภัย 2 วินาทีที่แล้ว
แกงเลียง อาหารเป็นยา 3 วินาทีที่แล้ว
ตกขาว .. รักษาอย่างไร 4 วินาทีที่แล้ว
4 ขั้นตอน การเลือกโพรไบโอติคส์ 5 วินาทีที่แล้ว
อาหารหลากสี มีประโยชน์หลากหลาย (ตอนที่ 3): สารเคมีที่มีประโยชน์จากผักผลไม้ที่มีสีม่วงและสีน้ำเงิน 6 วินาทีที่แล้ว
เลือดจาง โลหิตจาง กับยาฉีดอีพีโอ (EPO) 7 วินาทีที่แล้ว
ยาแก้ไอ ... มีกี่แบบ ?? 7 วินาทีที่แล้ว
ดนตรีและการพัฒนาสมอง 8 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล