“ยา” กับอันตรายต่อไต
รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ. นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
52,626 ครั้ง เมื่อ 35 นาทีที่แล้ว | |
2019-10-03 |
ไตทำหน้าที่ผลิตปัสสาวะ เป็นอวัยวะสำคัญในการรักษาสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยกำจัดของเสียออกจากร่างกายโดยการขับถ่ายมากับปัสสาวะ
ผลเสียต่อไตจากยา...ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร?
ผลเสียต่อไตที่เกิดจากยา (หมายรวมถึงเมแทบอไลต์ของยาด้วย ซึ่งเมแทบอไลต์เป็นสารที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงยาในร่างกาย) อาจเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันหรือค่อยเป็นค่อยไป อาจเกิดกับไตตั้งแต่โกลเมอรูลัส (glomerulus) ซึ่งทำหน้าที่กรองเลือดขั้นแรกเพื่อสร้างเป็นปัสสาวะ เรื่อยมาตลอดท่อไต รวมถึงเนื้อเยื่อใกล้เคียง (กลไกการเกิดอันตรายต่อไตมีกล่าวต่อไป) ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของไตลดลง สมดุลน้ำและเกลือแร่เสียไป ร่างกายสะสมของเสีย ส่งผลรบกวนระบบการทำงานของร่างกาย ทำให้เกิดความผิดปกติหลายอย่าง เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ขาและเท้าบวม สับสน
ยาใดบ้างที่เป็นอันตรายต่อไต?
ยาทั้งหลายที่เข้าสู่ร่างกายล้วนมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อไตได้ อาจมากหรือน้อยต่างกัน ตัวอย่างยาที่อาจทำอันตรายต่อไต เช่น ยาต้านจุลชีพในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ แอมโฟเทอริซินบี ยาต้านรีโทรไวรัส ยาในกลุ่มซัลโฟนาไมด์ เมโทเทรกเซต ซีสพลาทิน ไซโคลสปอรีน ยาลดความดันโลหิตบางกลุ่ม ยาลดไขมันในเลือดกลุ่มสแตติน สารสีทึบรังสี (contrast dye) ที่ใช้ในการวินิจฉัยความผิดปกติในร่างกาย (ดูเพิ่มเติมในตาราง)
ยาทำอันตรายต่อไตได้อย่างไร?
กลไกการเกิดอันตรายต่อไตจากยามีหลายอย่างดังนี้
ปัจจัยส่งเสริมความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อไตจากยา
ปัจจัยส่งเสริมความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อไตจากยามีหลายอย่างดังนี้
การลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อไตจากยา
อันตรายต่อไตเหตุจากการใช้ยานั้น มีแนวทางในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงได้ดังนี้
ยาทาภายนอกรักษาโรคเชื้อรา : ยารักษากลากและเกลื้อน 4 วินาทีที่แล้ว | |
การลดสารตกค้างในผักและผลไม้ 4 วินาทีที่แล้ว | |
ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง...ใช้อย่างไร 7 วินาทีที่แล้ว | |
เปลี่ยนยาคุมกำเนิด ... ทำอย่างไรดี 7 วินาทีที่แล้ว | |
ผลิตภัณฑ์สมุนไพรตอนที่ 1: สนุกกับการผลิตยาเม็ดสมุนไพร 10 วินาทีที่แล้ว | |
ว่านชักมดลูก 14 วินาทีที่แล้ว | |
กินมะเขือเทศอย่างไรได้ไลโคปีน (lycopene) สูง 15 วินาทีที่แล้ว | |
มะระขี้นก 16 วินาทีที่แล้ว | |
EM Ball (อีเอ็มบอล) 20 วินาทีที่แล้ว | |
มะเร็งยูเวีย หรือมะเร็งผนังลูกตาชั้นกลาง 1 นาทีที่แล้ว |
|
HTML5 Bootstrap Font Awesome