ทีมหมูป่า เด็กติดถ้ำ กับภาวะ Refeeding Syndrome ที่ต้องระวัง
รองศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
11,963 ครั้ง เมื่อ 4 ช.ม.ที่แล้ว | |
2018-07-04 |
จากข่าวโด่งดังทั่วโลกของการติดอยู่ในถ้ำของเด็กๆ นักฟุตบอลทีมหมูป่าและโค้ชรวม 13 ชีวิตในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน เป็นระยะเวลานานถึง 9 วันเศษ อาศัยเพียงน้ำที่หยดมาตามซอกหินของผนังถ้ำปะทังชีวิต ขาดอาหารเพื่อบำรุงร่างกาย คำที่เอ่ยปากกับนักกู้ภัยชาวอังกฤษประโยคหนึ่งคือ I am hungry, eat eat eat ซึ่งแสดงว่าไม่ได้รับประทานอาหารมาหลายวัน แต่ทีมแพทย์ที่รับผิดชอบไม่สามารถที่จะให้รับประทานอาหารปกติได้ทันที ต้องจัดอาหารพิเศษเพื่อให้พลังงาน (power gel) ดูแลให้ยาและวิตามินไปก่อน ทั้งนี้เพราะกลัวว่าจะเกิดภาวะที่เรียกว่า “Refeeding syndrome” ซึ่งเป็นภาวะอันตรายอันอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
ภาพจาก : https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/83938
Refeeding syndrome (RFS) หมายถึงกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นในผู้ที่มีภาวะทุพโภชนาการ หรือไม่ได้รับอาหารนานหลายวันหรืออาจนานเป็นสัปดาห์แล้วให้รับประทานอาหารตามปกติทันทีหรือปริมาณมากเกินไป ได้แก่ การให้อาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต โดยการรับประทาน หรือในรูปแบบน้ำเกลือที่มีน้ำตาลกลูโคส รวมทั้งการให้สารอาหารผ่านทางหลอดเลือดดำใหญ่ และการให้อาหารทางสายยาง จะทำให้เกิดโทษมากกว่าคุณประโยชน์ ทั้งนี้เพราะจากภาวะอดอาหารเป็นเวลานานนั้นการทำงานระดับเซลล์และอวัยวะลดลง อีกทั้งยังเกิดภาวะขาดอิเล็กโทรไลต์และเกลือแร่ร่วมด้วย ระดับอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการดึงน้ำตาลกลูโคสในเลือดเข้าเซลล์ลดลงในขณะที่กลูคากอนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำงานตรงข้ามกลับเพิ่มมากขึ้น เซลล์ขาดกลูโคสที่ใช้สร้างพลังงาน ร่างกายจึงปรับตัวโดยการสร้างกลูโคสจากไขมันและโปรตีน ผลที่ตามมาคือได้กรดไขมันอิสระและสารคีโตนเพิ่มมากขึ้นซึ่งไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย ถ้าให้อาหารตามปกติทันทีนั้น ในระยะแรกจะกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน เพื่อพากลูโคสเข้าสู่เซลล์ และมีการเคลื่อนที่ของอิเล็กโทรไลต์ แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส วิตามิน บี 1 หรือ ไทอะมีน (Thiamine) และน้ำเข้าสู่เซลล์อย่างเฉียบพลัน เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการสร้างพลังงานของร่างกาย ทำให้ระดับ โพแสเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามิน บี1 ในเลือดลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของร่างกายหลายระบบ เช่น ความไม่สมดุลของน้ำและเกลือแร่ การทำงานของระบบประสาทผิดปกติ ภาวะไตวาย และการทำงานของหัวใจล้มเหลว จนอาจเสียชีวิตได้
ดังนั้นในกรณีนี้ ทีมสหวิชาชีพ จึงมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการเกิด RFS ดังนี้
นอกจากนี้ RFS อาจเกิดได้ในผู้ป่วยโรคสมองนอนติดเตียงที่ร่างกายซูบผอม ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่น้ำหนักลดลงมาก ร่างกายผอมแห้ง ซึ่งสามารถพบได้ในโรงพยาบาล ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ควรตระหนักถึง RFS ไว้ด้วย
ยาแก้ปวดข้อ ข้ออักเสบ-กลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) 1 วินาทีที่แล้ว | |
ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)...กินอย่างไรให้เหมาะสม 3 วินาทีที่แล้ว | |
โรคไทรอยด์เป็นพิษแบบไม่แสดงอาการ 4 วินาทีที่แล้ว | |
ยาที่ไม่ควรกินร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 18 วินาทีที่แล้ว | |
ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาหยอดตาที่ไม่ควรมองข้าม 21 วินาทีที่แล้ว | |
ยาห้าราก : ตำรับยาสมุนไพรแก้ไข้ 22 วินาทีที่แล้ว | |
กินมะเขือเทศอย่างไรได้ไลโคปีน (lycopene) สูง 22 วินาทีที่แล้ว | |
ยาทาสเตียรอยด์สำหรับโรคผิวหนัง 23 วินาทีที่แล้ว | |
กลูต้าไธโอน (glutathione) ทำให้ขาวจริงหรือ?? 25 วินาทีที่แล้ว | |
ผลิตภัณฑ์สมุนไพรตอนที่ 3: สนุกกับการผลิตเจลสมุนไพร 26 วินาทีที่แล้ว |
|
HTML5 Bootstrap Font Awesome