Loading…

ยาเสื่อมสภาพ .. รู้ได้อย่างไร

ยาเสื่อมสภาพ .. รู้ได้อย่างไร
ศาสตราจารย์ ดร.ภญ. ลีณา สุนทรสุข ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
39,945 ครั้ง เมื่อ 1 นาทีที่แล้ว
2016-07-15

เมื่อผู้ป่วยได้รับยาจากโรงพยาบาลหรือร้านขายยาก็มักจะเข้าใจว่ายาดังกล่าวสามารถใช้ได้ตราบเท่าที่ยังไม่หมดอายุ แต่ในความเป็นจริงยาอาจมีคุณลักษณะ (เช่น รูปร่าง สี กลิ่น รสชาติ) คุณภาพ (เช่น ปริมาณตัวยาสำคัญ สารเจือปน) หรือประสิทธิผลการรักษา ที่แตกต่างไปจากตอนที่ผลิตออกมาใหม่ๆ การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม (เช่น อุณหภูมิ ความชื้น แสง) หรือการเก็บรักษาที่ไม่ถูกต้อง ปัจจัยเหล่านี้มีผลทำให้ยาเสื่อมสภาพก่อนหมดอายุ ซึ่งไม่ควรนำมาบริโภคเพราะจะก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

ภาพจาก : http://powertotheparent.org/toolkit/how-to-discard-unused-medication/
การเสื่อมสภาพของยาเกิดขึ้นได้ใน 3 ลักษณะ คือ
  1. การเสื่อมสภาพทางเคมี ได้แก่ การลดลงของปริมาณตัวยาสำคัญ และการเพิ่มขึ้นของสารสลายตัว
  2. การเสื่อมสภาพทางกายภาพ ได้แก่ ความผิดปกติของรูปร่าง สี กลิ่น รสชาติ ความใสหรือขุ่น หรือการเกิดตะกอน
  3. การเสื่อมสภาพทางจุลชีววิทยาได้แก่ การปนเปื้อนของเชื้อเกินระดับปลอดภัย
การเสื่อมสภาพของยาทั้งสามลักษณะมีความเกี่ยวข้อง เช่น การเพิ่มขึ้นของสารสลายตัวอาจทำให้กลิ่น รสชาติของยาเปลี่ยนไป หรือก่อให้เกิดพิษต่อร่างกาย ดังนั้นจึงไม่สมควรที่จะนำยาที่เสื่อมสภาพมาบริโภค
การตรวจสอบการเสื่อมสภาพของยามักทำในห้องปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ อย่างไรก็ตามการเสื่อมสภาพทางกายภาพบางประการเป็นสิ่งที่สังเกตได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว ประชาชนทั่วไปสามารถทำได้เอง บทความนี้จึงขอเสนอข้อแนะนำเบื้องต้นในการสังเกตการเสื่อมสภาพของยาทางกายภาพเพื่อเป็นแนวทางในการใช้ยาอย่างปลอดภัย
แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. http://bangkhunthianjoggingclub.com/story_detail.php?story_id=321
  2. http://canryf.blogspot.com/
  3. http://variety.teenee.com/foodforbrain/32607.html
  4. http://www.ohlor.com/วิธีวิ่งให้ไม่เหนื่อย/
-->

บทความที่ถูกอ่านล่าสุด

รอบรู้เรื่องธาตุกัมมันตรังสี 2 วินาทีที่แล้ว
โรคเกาต์กับเกาต์เทียม ต่างกันอย่างไร 3 วินาทีที่แล้ว
รู้รอบตอบชัด สารพัด “ยาลดกรด” 6 วินาทีที่แล้ว
การดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์ทางเลือก (ตอนที่ 2)ท่านอยู่ในโดชาใด 6 วินาทีที่แล้ว
ยาหอม กับคนวัยทำงาน 7 วินาทีที่แล้ว
รางจืด สมุนไพรแก้พิษและล้างพิษ 7 วินาทีที่แล้ว
ยาที่ไม่ควรกินร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 9 วินาทีที่แล้ว
ออกกำลังกายอย่างไรดี ? 14 วินาทีที่แล้ว
โรคเกาต์ (gout) ดูแลอย่างไรดี 17 วินาทีที่แล้ว
“ตดหมูตดหมา” เพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้จริงหรือ? 19 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล