Loading…

น้ำมะระ เหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร

น้ำมะระ เหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
32,779 ครั้ง เมื่อ 14 ช.ม.ที่แล้ว
2011-02-07

มีรายงานจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในประเทศอินเดียว่าพบผู้ป่วยชายอายุ40 ปี รับประทานน้ำมะระเข้มข้นที่ทำเองที่บ้านประมาณ 500 ซีซี ก่อนที่จะมีการเจาะเลือดไปตรวจ ผู้ป่วยบอกว่ามีอาการปวดอย่างรุนแรงบริเวณแถวกระบังลมหรือลิ้นปี่ และอาเจียนเป็นเลือดประมาณ 200 - 300 ซีซี ภายในครึ่งชั่วโมงหลังจากที่รับประทานน้ำมะระเข้มข้นเข้าไป ซึ่งผู้ป่วยไม่ได้เพิ่มเติมสารใดๆ ลงไปในขณะที่เตรียมน้ำมะระเข้มข้น ไม่มีประวัติการใช้แอลกอฮอล์ ยาระงับปวด ยาต้านการอักเสบ และยาอื่นๆ ไม่มีประวัติว่าปวดบริเวณแถวกระบังลมหรือลิ้นปี่ หรือไม่สบายมาก่อน และจากการตรวจร่างกายพบว่า ผู้ป่วยมีอาการซีด ชีพจรเต้น 120 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 80/60 มม. ปรอท ฮีโมโกลบิน 8.0 กรัม% ฮีมาโตคริต 23% (เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดปกติ) ค่าชีวเคมีในเลือดของตับและไตปกติ การทำอุลตร้าซาวน์ในช่องท้องไม่พบว่ามีภาวะความดันสูงในระบบหลอดเลือดดำของตับ หรือตับอ่อนอักเสบ จากการส่องกล้องดูระบบทางเดินอาหารส่วนต้น พบว่าหลอดอาหารปกติ ส่วนเยื่อบุกระเพาะอาหารมีเลือดออกคั่ง และมีแผลบริเวณตัวกระเพาะอาหารส่วนปลาย (distal body) และบริเวณแอนทรัม (antrum คือส่วนปลายของกระเพาะอาหารที่ต่อกับลำไส้เล็กส่วนต้น) ไม่พบว่ามีภาวะหลอดเลือดขดที่หลอดอาหารหรือกระเพาะอาหารโป่งพอง(esophageal varice, gastric varice) การตรวจหาเอนไซม์ urease ที่ถูกผลิตขึ้นโดย Helicobacterpyloriจากชิ้นเนื้อที่ส่งตรวจให้ผลลบ จากข้อมูลทั้งหมดทีมแพทย์พิจารณาแล้วสรุปว่าการเตรียมสารสกัดจากมะระร่วมกับผักชนิดอื่นๆ อาจจะช่วยเจือจางและลดความเป็นพิษของมะระลงได้ แต่เนื่องจากผู้ป่วยรายนี้รับประทานมะระปั่นที่เข้มข้นอาจทำให้เกิดความเป็นพิษที่มีฤทธิ์กัดกร่อนจึงทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ซึ่งคิดว่าน่าจะมาจากสารอัลคาลอยด์ที่คล้ายกับ momordicine หรือสารที่คล้ายกับ lectin หรือ charantin ซึ่งพบในมะระและน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฤทธิ์กัดกร่อนนี้

จาก Indian J Gastroenterol 2010:29(1):37-9.

แหล่งอ้างอิง/ที่มา

บทความที่ถูกอ่านล่าสุด

ยาปฏิชีวนะ..ระวัง..อย่าใช้พร่ำเพรื่อ 1 วินาทีที่แล้ว
รอบรู้เรื่องธาตุกัมมันตรังสี 2 วินาทีที่แล้ว
ย่านาง ...อาหารที่เป็นยา 2 วินาทีที่แล้ว
เมื่อสัตว์เลี้ยงได้รับสารพิษ : แนวทางการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 3 วินาทีที่แล้ว
ไซลาซีน (Xylazine) ยาสลบสำหรับสัตว์ที่ถูกนำมาใช้ในทางที่ผิด 3 วินาทีที่แล้ว
อันตรายจากการบริโภควิตามินมากเกิน 4 วินาทีที่แล้ว
ปัสสาวะเปลี่ยนสีหลังกินยา 6 วินาทีที่แล้ว
ประโยชน์ของการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน 7 วินาทีที่แล้ว
ความรู้เรื่องคลื่นรังสี ตอนที่ 1 8 วินาทีที่แล้ว
บรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะ (Tamper-Evident Packaging): ตอนที่ 5 9 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล