ประโยชน์ของการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
อาจารย์ ดร. กภ.ยิ่งรัก บุญดำ ช่วยบุญ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
24,642 ครั้ง เมื่อ 3 ช.ม.ที่แล้ว | |
2022-06-06 |
ปัญหาปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ขณะออกแรงยกของ ไอ จาม หัวเราะ หรือออกกำลังกาย เป็นปัญหาที่พบได้ในบุคคลที่มีกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Pelvic floor muscle) อาการอ่อนแรง
โดยกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเป็นกล้ามเนื้อที่วางตัวอยู่ภายในกระดูกอุ้งเชิงกราน ในผู้หญิงจะทำหน้าที่พยุงมดลูก กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ และเป็นช่องทางออกของรูเปิด 3 รูด้วยกัน คือ ช่องคลอด (vagina) ท่อปัสสาวะ (urethra) และรูทวาร (anal passage) ส่วนในผู้ชายนั้นจะทำหน้าที่พยุงกระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ และเป็นช่องทางออกของรูเปิด 2 รู คือ ท่อปัสสาวะ และรูทวาร ดังนั้นเมื่อกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเกิดการหดตัว จะส่งผลให้รูเปิดต่าง ๆ เกิดการหดรัดตัวตามไปด้วย ในทางกลับกันหากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเกิดการคลายตัว อยู่ในสภาวะที่อ่อนแรง หรือหดตัวได้น้อยลง จะส่งผลให้รูต่าง ๆ เกิดการคลายตัว และทำให้สสารต่าง ๆ ที่อยู่ในท่อเหล่านั้นเกิดการการไหลออกจากร่างกาย
ด้วยลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่แข็งแรงจะช่วยให้ทั้งผู้หญิงและผู้ชายสามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ และการขับแก๊สได้ โดยเราสามารถกลั้นสิ่งเหล่านี้เมื่ออยู่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสม และขับออกเมื่ออยู่ในสภาวะที่เหมาะสม นอกจากนี้กล้ามเนื้อที่แข็งแรงยังมีผลดีที่จำเพาะต่อแต่ละเพศ กล่าวคือ ในเพศหญิง จะช่วยพยุงทารกในครรภ์ ช่วยให้การคลอดบุตรเกิดขึ้นได้ง่าย ช่วยกระชับช่องคลอด และช่วยป้องกันภาวะมดลูกหย่อน ส่วนในเพศชายนั้น จะช่วยให้การฟื้นตัวหลังจากการผ่าตัดต่อมลูกหมากเกิดขึ้นได้ดี เนื่องจากการผ่าตัดต่อมลูกหมากจะส่งผลให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานได้รับบาดเจ็บ
เมื่อทราบตำแหน่งของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแล้ว ให้ขมิบเหมือนพยายามจะกลั้นปัสสาวะหรือผายลม (ในเพศชายอาจลองจินตนาการว่ากำลังพยายามยกถุงอัณฑะขึ้นและบังคับให้องคชาติเคลื่อนเข้า) จากนั้นให้เกร็งค้างไว้ประมาณ 8 วินาที แล้วผ่อนคลาย และพักประมาณ 8 วินาที จากนั้นทำการขมิบซ้ำ วนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ โดยจะฝึกวันละ 3 เช็ต 8-12 ครั้งต่อเซ็ต
ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนัง...ทางเลือกแทนการรับประทานยาคุมกำเนิด 6 วินาทีที่แล้ว | |
ยาทาสเตียรอยด์สำหรับโรคผิวหนัง 6 วินาทีที่แล้ว | |
ผักผลไม้..ที่ควรระวังในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 1 นาทีที่แล้ว | |
สารเคมีในครัวเรือนที่ไม่ควรใช้ร่วมกัน 1 นาทีที่แล้ว | |
โรคมือเท้าปากในเด็ก 1 นาทีที่แล้ว | |
คัดเลือกยาคุณภาพเข้าโรงพยาบาลทำกันอย่างไร 1 นาทีที่แล้ว | |
การใช้สมุนไพร อายุรเวท รักษามะเร็ง 1 นาทีที่แล้ว | |
การปฐมพยาบาลด้วยสมุนไพร: สมุนไพรสำหรับอาการภายนอก 1 นาทีที่แล้ว | |
ยาแก้ปวดข้อ ข้ออักเสบ-กลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) 1 นาทีที่แล้ว | |
พาราเซตามอล (paracetamol) รักษาปวดได้ทุกอย่างจริงหรือ? 1 นาทีที่แล้ว |
|
HTML5 Bootstrap Font Awesome