Loading…

กลูโคซามีนซัลเฟต (glucosamine sulphate) กับโรคข้อเสื่อม (osteoarthristis)

กลูโคซามีนซัลเฟต (glucosamine sulphate) กับโรคข้อเสื่อม (osteoarthristis)
รองศาสตราจารย์ วิมล ศรีศุข ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
228,028 ครั้ง เมื่อ 8 นาทีที่แล้ว
2010-02-02

โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)เป็นภาวะเสื่อมที่มีผลต่อข้อและเนื้อเยื่อของข้อ มีอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อมีการใช้งานของอวัยวะส่วนนั้น ต่อมามีอาการข้อบวม ฯลฯ เมื่ออาการมากในขั้นท้ายๆ ข้อจะมีลักษณะผิดรูปผิดร่าง นอกจากการรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวดหรือการอักเสบเพื่อป้องกันการลุกลามของโรคแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่น่าจะเป็นประโยชน์

กลูโคซามีนซัลเฟต (Glucosamine sulfate)เป็นสารประกอบที่พบในรูปแบบของยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยทั่วไปมักรับประทานในขนาดวันละ 1500 มิลลิกรัม

การศึกษาในหลอดทดลองจากการศึกษาในหลอดทดลอง พบว่ากลูโคซามีนซัลเฟตมีผลกระตุ้นการสังเคราะห์และยับยั้งการสลายตัวของโปรติโอไกลแคน (Proteoglycans) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่กันการกระแทกระหว่างกระดูกข้อ นอกจากนี้กลูโคซามีนยังแสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบอย่างอ่อนๆด้วย

การศึกษาทางคลินิกสำหรับการศึกษาทางคลินิก (การศึกษาในมนุษย์) พบว่า ผลการรักษาคล้ายคลึงกับยาต้านการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)แต่ผลเริ่มต้นจะช้ากว่า และการบรรเทาอาการจะค่อยเป็นค่อยไป ไม่รวดเร็วเหมือนการใช้ยา ผลการบรรเทาอาการมีตั้งแต่ปานกลางไปจนถึงมาก (รายงานการศึกษา 14 ใน15 ฉบับ) ข้อดีของกลูโคซามีนซัลเฟต เหนือ ยาต้านการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)คือ ชะลอการเคลื่อนตัวเข้าหากันของข้อกระดูกที่ข้อเข่าเห็นผลนี้ชัดเจนเมื่อใช้ในระยะยาว ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปและต่อเนื่องไป ชัดเจนมากขึ้นอีกหลัง 3 ปี

อาการไม่พึงประสงค์ ที่พบบ่อย คือ คลื่นไส้ ท้องเสีย แสบท้อง ปวดท้อง อาการอื่นๆที่พบไม่บ่อยคือ มึนงง ปวดศรีษะ นอนไม่หลับ บวม อาการทางผิวหนัง หัวใจเต้นเร็ว

ข้อควรระวังคือไม่ควรใช้ในคนที่แพ้อาหารทะเล เนื่องจากกลูโคซามีนอาจเตรียมจากสัตว์ทะเล อาจทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้

แหล่งอ้างอิง/ที่มา

บทความที่ถูกอ่านล่าสุด

สบู่ดำ..พืชพลังงานที่เพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ 1 วินาทีที่แล้ว
ยาในน้ำนมแม่ ตอนที่ 1 : ยาลดความดันโลหิต 1 วินาทีที่แล้ว
ยาทาสเตียรอยด์สำหรับโรคผิวหนัง 1 วินาทีที่แล้ว
สมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน..กินด้วยกันดีมั้ย? 4 วินาทีที่แล้ว
สัตว์เลี้ยงกับยา 6 วินาทีที่แล้ว
“นิโคติน” สารทดแทนช่วยเลิกบุหรี่ 10 วินาทีที่แล้ว
ยาแก้ปวดศีรษะไมเกรน Ergotamine ใช้อย่างไรจึงจะปลอดภัย 10 วินาทีที่แล้ว
การพัฒนาอนุภาคนาโนและระบบนำส่ง ตอนที่ 2 12 วินาทีที่แล้ว
“ตดหมูตดหมา” เพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้จริงหรือ? 13 วินาทีที่แล้ว
ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)...กินอย่างไรให้เหมาะสม 15 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล