Loading…

คูณ อร่ามเหลืองรับสงกรานต์

คูณ อร่ามเหลืองรับสงกรานต์
ภญ. กฤติยา ไชยนอก สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
13,894 ครั้ง เมื่อ 1 ช.ม.ที่แล้ว
2015-04-21

เชื่อว่าในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา นอกจากความงดงามของดอกชมพูพันธุ์ทิพย์หรือซากุระเมืองไทยแล้ว หลายๆ ท่านก็คงจะได้สัมผัสกับความสวยงามกับดอกไม้อีกชนิดหนึ่ง ที่มีสีเหลืองอร่ามและมีความงดงามไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ใช่แล้วค่ะ เรากำลังพูดถึงเจ้าดอกสงกรานต์ ดอกราชพฤกษ์ หรือก็คือดอกคูน ดอกไม้ประจำชาติไทยเรานี้เองค่ะ

จาก http://www.thaigoodview.com/node/101100
คูน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cassia fistula L. เป็นพืชในวงค์ LEGUMINOSAE (FABACEAE) - CAESALPINIOIDEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์คือ เป็นไม้ยืนต้น ใบเป็นช่อประกอบด้วยใบย่อย 3-8 คู่ รูปไข่แกมขอบขนาน เนื้อใบเกลี้ยงค่อนข้างบาง หูใบมีขนาดเล็กและร่วงง่าย ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบ 1-3 ช่อ กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่แกมรูปรี ด้านนอกมีขน กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองรูปไข่ เกสรเพศผู้ 10 อัน อับเรณูมีขนาดเล็ก เกสรเพศเมียและท่อเกสรมีขน ผลเป็นฝักทรงกระบอก ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีดำ มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดรูปรีแบนสีน้ำตาล สรรพคุณพื้นบ้านระบุว่า รากและใบ ใช้เป็นยาระบาย รักษากลากเกลื้อน แก้บวม ขับพยาธิผิวหนัง เปลือกต้น แก้ท้องร่วง สมานแผล เปลือกเมล็ดและเปลือกฝัก ถอนพิษเบื่อเมา ทำให้อาเจียน ดอก แก้ไข้ เป็นยาระบาย แก้ปวดแผลเรื้องรัง พุพอง ฝัก แก้กระหายน้ำ แก้จุกเสียด แก้กำเดา แก้พรรดึก ระบายพิษไข้ เนื้อในฝัก เป็นยาระบาย ถ่ายเสมหะ แก้ร้อนในกระหายน้ำ
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของคูนพบว่า ในฝักคูนมีสารในกลุ่ม anthraquinones หลายชนิด เช่น rhein, aloe-emodin และ sennosides ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาระบาย สารสกัดจากส่วนฝัก ดอก และส่วนต่างๆ มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์ สารสกัดจากส่วนใบมีฤทธิ์ฆ่าพยาธิใบไม้ ขับปัสสาวะ ลดการอักเสบ สารสกัดจากเมล็ด ลำต้นและเปลือกต้นมีฤทธิ์ลดไขมันและลดน้ำตาลในเลือด แต่ทั้งหมดยังเป็นการศึกษาในระดับสัตว์ทดลองและหลอดทดลองค่ะ
แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. มาโนช วามานนท์ เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ (บรรณาธิการ). หนังสือผักพื้นบ้าน: ความหมายและภูมิปัญญาของสามัญชนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก; 2540.
  2. นันทวัน บุญประภัศร อรนุช โชคชัยเจริญพร (บรรณาธิการ). สมุนไพรไม้พื้นบ้าน เล่ม. กรุงเทพฯ: บริษัทประชาชน จำกัด; 2541.
  3. กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย (Nutritive values of Thai foods). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก; 2535.
  4. Bahri S, Zerrouk N, Aussel C, Moinard C, Crenn P, Curis E, Chaumeil JC, Cynober L, Sfar S. Citrulline: from metabolism to therapeutic use. Nutrition 2013;29(3):479-84.
  5. Tarazona-D?az MP, Alacid F, Carrasco M, Mart?nez I, Aguayo E. Watermelon juice: potential functional drink for sore muscle relief in athletes. J Agric Food Chem 2013;61(31):7522-8.
  6. Collins JK, Wu G, Perkins-Veazie P, Spears K, Claypool PL, Baker RA, Clevidence BA. Watermelon consumption increases plasma arginine concentrations in adults. Nutrition 2007;23:261–6.
  7. Jourdan M, Nair KS, Ford C, Shimke J, Ali B, Will B, et al. Citrulline stimulates muscle protein synthesis at the post-absorptive state in healthy subjects fed a low-protein diet. Clin Nutr 2008;3(suppl):11–2
-->
เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล