Loading…

งานบริหารงานวิจัยฯ จัดกิจกรรม KM ด้านการวิจัย หัวข้อ Systematic review and meta-analysis (SRMA) ครั้งที่ 1

187 ครั้ง   22 มกราคม 2568

เมื่อวันพุธที่ 22 มกราคม 2568 เวลา 13.00 - 16.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Management: KM) ด้านการวิจัย ครั้งที่ 3 ประจำปีงบประมาณ 2568 หัวข้อ \"Systematic review and meta-analysis (SRMA) ครั้งที่ 1\" โดยได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภก.วิชิต โนสูงเนิน รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม KM ดังกล่าว โดยมีบุคลากรสายวิชาการให้ความสนใจเข้าร่วมจำนวนกว่า 40 คน ณ ห้องบรรยาย 408 อาคารราชรัตน์

กิจกรรม KM ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างทักษะเกี่ยวกับการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) และการวิเคราะห์ข้อมูลรวมเชิงสถิติ (meta-analysis) ซึ่งก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้จากกรณีศึกษาจริงและประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญในการดำเนินการ SRMA และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการ อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านกระบวนการวิจัยอย่างเป็นระบบ พร้อมส่งเสริมความร่วมมือที่ตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

กิจกรรมภายในงาน ประกอบไปด้วย ช่วงที่ 1 เป็นการบรรยายในหัวข้อ ‘Introduction to SRMA’ และ ‘Process and topic identification in SRMA’  โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ และ รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ.ศิตาพร ยังคง ให้เกียรติเป็นวิทยากร และช่วงที่ 2 เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing experiences) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. ทนพญ.วันวิสาข์ อุดมสินประเสริฐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ. ธนิกา ปฐมวิชัยวัฒน์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ. วิภารักษ์ รัตนวิภานนท์ ให้เกียรติร่วมเป็นวิทยากร เพื่อเปิดโอกาสให้คณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในด้าน SRMA กันอีกด้วย นอกจากนี้ กิจกรรม KM ดังกล่าวยังมีส่วนช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 9: สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา