Loading…

งานวิเทศสัมพันธ์ฯ จัดโครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสำหรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนจาก Shinshu University ประเทศญี่ปุ่น

100 ครั้ง   16 กรกฎาคม 2567

เมื่อวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 - 11.30 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานวิเทศสัมพันธ์ จัดการต้อนรับและปฐมนิเทศให้กับ Mr. Keisuke Itsukushima ซึ่งเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนจาก Graduate School of Science and Technology, Shinshu University ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.กอบธัม สถิรกุล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จิราพร เลื่อนผลเจริญชัย ร่วมให้การต้อนรับและปฐมนิเทศนักศึกษา ณ ห้องประชุม 309 อาคารราชรัตน์

ทั้งนี้ Mr. Keisuke Itsukushima เดินทางมาเยือนคณะฯ เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมทางวิชาชีพและฝึกปฏิบัติการวิจัย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.กอบธัม สถิรกุล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จิราพร เลื่อนผลเจริญชัย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ระหว่างวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2567 โดยได้รับการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติการวิจัยเกี่ยวกับการเลี้ยงยุงและการพัฒนาตำรับยาป้องกันยุง ณ สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรมของคณะฯ และที่ ภาควิชากีฏวิทยาการแพทย์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล โดยมี ดร.รวีวรรณ ศรีสวัสดิ์ และ ดร.ณฐยา สัทธานนท์ เป็นผู้ฝึกอบรม

กิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการฝึกอบรมและปฏิบัติงานทางวิชาชีพในระดับเฉพาะให้แก่นักศึกษาแลกเปลี่ยนต่างชาติ และส่งเสริมให้นักศึกษา คณาจารย์ เภสัชกรวิชาชีพ และหน่วยงานทางวิชาชีพที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสในการขยายขอบเขตของความคิด สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความชำนาญทางวิชาชีพ รวมทั้งวัฒนธรรมผ่านความร่วมมือในระดับนานาชาติ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของคณะฯ และแหล่งฝึกงานภายนอกในเวทีโลกและเป็นที่ประจักษ์ในระดับสากล นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล