Loading…

เภสัชมหิดลจัดบรรยายพิเศษโดยวิทยากรรับเชิญ

130 ครั้ง   26 มีนาคม 2567

เมื่อวันอังคารที่ 26 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 - 11.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการบรรยายพิเศษ โดยศาสตราจารย์วุฒิคุณ (Adjunct Professor) และวิทยากรรับเชิญ โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.อาณัฐชัย ม้ายอุเทศ สังกัดภาควิชาเภสัชวิทยา เป็นผู้ดำเนินรายการและแนะนำวิทยากร ซึ่งประกอบด้วย Prof. Dr. rer. nat. Regine Schneider-Stock และ ศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร.ปิติ จันทร์วรโชติ รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้ให้เกียรติมาบรรยายพิเศษให้แก่คณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.อาณัฐชัย ม้ายอุเทศ เป็นผู้ประสานงานการบรรยายพิเศษ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Alexander von Humboldt Foundation 

การบรรยายพิเศษในครั้งนี้ ประกอบด้วย 2 หัวข้อ โดย Prof. Dr. rer. nat. Regine Schneider-Stock ให้เกียรติบรรยายพิเศษในหัวข้อ “TROP2: The master regulation of cellular stiffness and metastasis potential of colorectal cancer cell” และ ศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร.ปิติ จันทร์วรโชติ ให้เกียรติบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Natural product-derived compounds for lung cancer therapy” ณ ห้องบรรยาย 404 อาคารราชรัตน์ 

ภายหลังการบรรยายพิเศษ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.อาณัฐชัย ม้ายอุเทศ ได้มีโอกาสประชุมหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างสองสถาบันอีกด้วยด้วย นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัยอีกด้วย เป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล