Loading…

เภสัชมหิดลลงนามความร่วมมือกับเครือข่ายสถาบันการศึกษาทางเภสัชศาสตร์แห่งของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย 

204 ครั้ง   5 มีนาคม 2567

เมื่อวันอังคารที่ 5 มีนาคม 2567 เวลา 14.00 - 17.00 น. ผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ภก. ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ปัทมพรรณ โลมะรัตน์ รองคณบดีฝ่ายแผนและพัฒนาคุณภาพ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ศิตาพร ยังคง ประธานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคม เศรษฐศาสตร์และการบริหาร ร่วมให้การต้อนรับ Prof. Dr. Yandi Syukri (President of the Asian Association of Schools of Pharmacy (AASP)) พร้อมด้วย Prof. Dr. Daryono Hadi Tjahjono และคณะผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการศึกษาทางเภสัชศาสตร์แห่งของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย รวมจำนวน 80 คน ในโอกาสที่เดินทางมาเยือนคณะฯ เพื่อประชุมหารือความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยระหว่างสถาบัน พร้อมทั้งร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความเข้าใจร่วมกัน (Memorandum of Understanding (MoU)) ณ ห้องประชุม 606 อาคารราชรัตน์ หลังจากนั้น จึงเป็นการเข้าเยี่ยมชมหน่วยบริการวิชาการและศูนย์วิจัยของคณะฯ ได้แก่ ศูนย์ทดสอบเครื่องสำอางและเภสัชภัณฑ์ทางผิวหนัง ศูนย์ชีวเภสัชศาสตร์เพื่อสุขภาวะวัยชรา (Centre of Biopharmaceutical Science for Healthy Ageing, BSHA) และ ศูนย์วิจัยความจำเพาะเชิงโมเลกุลและพัฒนายาแบบบูรณาการ (Centre of Molecular Targeting and Integrated Drug Development, CMT-IDD) อีกด้วย

บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีเปาหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านวิชาการและการศึกษา การแลกเปลี่ยนนักศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการ โดยมีระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2567 ถึงวันที่ 4 มีนาคม 2572 ประกอบด้วย การแลกเปลี่ยนคณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาทุกระดับ การวิจัยและผลิตผลงานทางวิชาการร่วมกัน การจัดสัมมนาและประชุมวิชาการนานาชาติ เป็นต้น

ทั้งนี้ การพัฒนาความร่วมมือและกิจกรรมทางวิชาการดังกล่าวที่จะช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
 

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา